ภาพรวมสกุลเงินดอลลาร์แคนาดา
นอกเหนือจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงในสหรัฐอเมริกาแลรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่รายงานในประเทศต่างๆ เดือนนี้ ดัชนีเงินเฟ้อของแคนาดาในเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 6.8% ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 1991 อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนเกินค่ามัธยฐานของตลาดที่ 6.7%
ธนาคารกลางแห่งประเทศแคนาดา (BoC) จะเปิดเผยการประชุมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในคืนนี้ ตลาดคาดว่า BoC จะพิจารณาทำนโยบายการเงินให้มีความตึงตัวมากขึ้น ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% จาก 1% เป็น 1.5% นักวิเคราะห์บางคนคาดว่าธนาคารแห่งประเทศแคนาดาจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นเป็น 0.75% แล้วนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องจะมีผลกระทบต่อสกุลเงินดอลลาร์แคนาดาอย่างไร?
ดอลลาร์แคนาดากำลังแข็งค่าขึ้น
เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา แคนาดากำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงที่สุด ด้วยเหตุนี้ ธนาคารแห่งประเทศแคนาดาจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยสองครั้งติดต่อกันในเดือนมีนาคมและเมษายน โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจาก 0.25% เป็น 1% ถึงกระนั้น BoC ก็ยอมรับว่ายังเป็นการยากที่จะหยุดยั้งดัชนี CPI ของแคนาดาไม่ให้พุ่งสูงขึ้น
เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเงินเฟ้อในแต่ละประเภท ที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม ราคาอาหารและต้นทุนที่อยู่อาศัยเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นของ CPI แคนาดาในเดือนเมษายน ผลกระทบของสงครามรัสเซีย – ยูเครนส่งแรงกระเพื่อมมายังการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ปุ๋ย ต้นทุนการผลิตอาหารทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากสงครามยังคงดำเนินต่อไป การขาดแคลนอาหารและวัตถุดิบจะทำให้บริษัทต่างๆ ส่งต่อต้นทุนให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ ข้อมูลในเดือนเมษายนที่แสดงให้เห็นว่าราคาอาหารที่ชาวแคนาดาซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้น 9.7% จากปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1981
ราคาที่อยู่อาศัยก็เพิ่มขึ้น 7.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ครอบครัวในแคนาดาที่ต้องการความร้อนเป็นเวลานานมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้นเนื่องจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่าก๊าซธรรมชาติและค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ถึงกระนั้น ตลาดงานของแคนาดาสามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง อัตราการว่างงานในเดือนเมษายนลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สร้างแรงกดดันอย่างมากต่ออัตราค่าจ้าง เพิ่มต้นทุนการผลิตให้ภาคธุรกิจมากขึ้น และมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ดังนั้นค่าครองชีพของแคนาดาจึงเพิ่มขึ้นเร็วกว่าค่าจ้างเฉลี่ยของประเทศมากกว่าสองเท่า
ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ตลาดลงทุนจึงคาดหวังเป็นอย่างมากว่าธนาคารแห่งประเทศแคนาดาจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมวันนี้ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าระดับเงินเฟ้อในปัจจุบันยังไม่ถึงจุดสูงสุด และคาดว่าจะทะลุ 7% ได้ ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่าธนาคารแห่งประเทศแคนาดาจะไม่หยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มลดลง
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อสกุลเงินดอลลาร์แคนาดาอย่างไร?
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของแคนาดา ต้นทุนการกู้ยืมจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ลดความต้องการของผู้อยู่อาศัยในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ สิ่งนี้จะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจของแคนาดา ซึ่งพึ่งพาอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์หลัก
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแคนาดาเป็นผู้ส่งออกอาหารและพลังงานที่สำคัญของโลก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นโดยทั่วไปจึงส่งผลดีต่อการส่งออก ซึ่งสามารถชดเชยผลกระทบเชิงลบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเศรษฐกิจบางส่วนได้ในระดับหนึ่ง ในทางกลับกัน หากราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มลดลง ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของแคนาดาและมูลค่าสกุลเงินจะไม่ใช่สิ่งที่แคนาดาชอบ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีและ 10 ปีในปัจจุบันของแคนาดาสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ ซึ่งสะท้อนถึงความคาดหวังของนักลงทุนว่าธนาคารแห่งประเทศแคนาดาจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปตามอัตราเงินเฟ้อ หากเป็นเช่นนั้นจะทำให้เงินดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศแคนดาเริ่มชะลอตัวลง ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หากเศรษฐกิจไม่สามารถดีขึ้นได้ ก็จะจำกัดผลกระทบเชิงบวกของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่มีต่อเงินดอลลาร์แคนาดา
ตลาดควรให้ความสนใจนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิด นักวิเคราะห์คาดว่าหลังจากการประชุมเรื่องอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม อัตราการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ จะลดลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณปรับตัวลดลงบ้างแล้ว หากนโยบายของเฟดเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ การทยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง จะช่วยให้เงินดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์เช่นน้ำมันและอาหาร ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การค้านำเข้าและส่งออกของแคนาดามีการเติบโตอย่างมาก สมมติว่าข้อมูลเศรษฐกิจในไตรมาสที่สอของประเทศดีขึ้น ข่าวดีนี้อาจกระตุ้นให้ค่าเงินดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันและอาหารในอนาคตยังเป็นสิ่งที่ผันผวน และสร้างความเสี่ยงให้กับค่าเงินดอลลาร์แคนาดา ซึ่งนักลงทุนต้องจับตาอย่างใกล้ชิด