เมื่อการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐอเมริกาในเดือนสิงหาคมไม่ได้ปรับตัวลดลงมาในทางที่ดีขึ้นมากนัก ความเคลื่อนไหวของราคาทองคำจึงได้กลายมาเป็นหัวข้อข่าวอีกครั้ง ข้อมูลตัวเลข CPI แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 8.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 8.1% โดยเฉพาะอย่างยิ่ง CPI พื้นฐานในเดือนสิงหาคมที่เพิ่มขึ้น 6.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งก็สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ 6.1% นี่คือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อประจำปีของอเมริกายังคงสูง ราคาที่อยู่อาศัยและอาหารยังคงเพิ่มขึ้น
เฟดอาจวางนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวมากกว่านี้ในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ข่าวดีสำหรับนักลงทุนทองคำ ข้อมูลเงินเฟ้อทำให้ราคาทองคำ ซึ่งวิ่งอยู่ที่ประมาณ 1,720 ดอลลาร์ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว และตอนนี้ได้ลดลงต่ำกว่าระดับ $1,700 ตลาดทองคำยังคงเป็นของหมีอย่างสมบูรณ์
จากการพิจารณาเศรษฐกิจมหภาค ปัจจัยบวกที่หนุนแนวโน้มตลาดทองคำค่อยๆ เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการเก็งกำไรเกี่ยวกับจุดสูงสุดของอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ซึ่งทำให้นักลงทุนทองคำบางส่วนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น สัปดาห์นี้ นักลงทุนจะให้ความสำคัญกับตัวเลข CPI ประจำปีของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม ข้อมูล CPI พื้นฐานของสหรัฐฯ YoY ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน กับข้อมูลยอดขายปลีกสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคมที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดีก็ได้รับความสนใจเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขในเดือนสิงหาคมที่ออกมาทำให้นักลงทุนหันมาเดิมพันกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดมากขึ้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ตลอดปีที่ผ่านมาไม่ได้ทำให้เงินเฟ้อลดลงมากเท่าไหร่นัก ซึ่งส่งผลลบอย่างมากต่อราคาทองคำ นี่หมายความว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงของเฟดอาจคงอยู่อีกระยะเวลาหนึ่ง
ในการกล่าวสุนทรพจน์ล่าสุดของประธานเฟด ตลาดสามารถสัมผัสถึงความเด็ดขาดของการวางนโยบายการเงินแบบเชิงรุกได้ค่อนข้างชัดเจน นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดกล่าวว่า “เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ เฟดอาจต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลาหนึ่ง แม้ว่าภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจจะเจ็บปวดก็ตาม” ความเห็นเหล่านี้ปัดตกความเชื่อก่อนหน้านี้ของตลาดที่ว่เฟดอาจชะลอการความรุนแรงของการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
นอกจากนี้ หลังการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดสหรัฐครั้งล่าสุด ข้อมูลยอดขายปลีกยังสะท้อนถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ บางอย่างได้ ดังนั้น หากข้อมูลยอดขายปลีกขึ้นไม่ถึงหรือเกินความคาดหมายของตลาด ทองคำอาจอาจมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น และความต้องการของผู้บริโภคที่อ่อนแอก็จะกดดันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน ตอนนี้ อัตราการเติบโตของยอดค้าปลีกรายเดือนของสหรัฐอเมริกาในเดือนสิงหาคมคาดว่าจะอยู่ที่ 0.2% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้ที่ 0% เป็นผลให้ตลาดคาดว่าราคาทองคำอาจจะดีดตัวขึ้นเล็กน้อย แต่จะไม่หนุนทองคำมากเกินไป ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องรอดูว่าจะมีโอกาสที่ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นได้หรือไม่
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรปได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 คะแนนจุดเบสิส ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หากธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 จุดเบสิสในปลายเดือนนี้ จะทำให้ต้นทุนการถือทองคำเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อไปทำให้ความน่าดึงดูดใจของทองคำลดลง ดังนั้นความเสี่ยงที่ทองคำจะลดลงอย่างต่อเนื่องจึงยังไม่อาจปัดทิ้งได้ นักลงทุนจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษว่าตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ ในช่วงฤดูหนาวจะเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ และเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวหรือลดลงหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปนี้หรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องให้ความสนใจกับการคาดการณ์ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อแนวโน้มขาขึ้นของราคาทองคำในอนาคต
นักลงทุนทองคำยอมรับว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในเดือนนี้ และราคาทองคำคาดว่าจะยังคงอยู่ภายใต้แนวโน้มขาลงก่อนการประกาศปรับอัตราดอกเบี้ย เมื่อการเก็งกำไรทิศทางนโยบายการเงินยังไม่เป็นที่แน่ชัด ดังนั้น นักลงทุนจึงยังคงต้องให้ความสนใจอกับแนวโน้มราคาพลังงานย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีส่วนสำคัญกับการกำหนดทิศทางของอัตราเงินเฟ้อด้วย
สมมติว่าข้อมูล CPI ในหลายเดือนปรับตัวลดลงติดต่อกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงทีละน้อย ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตอนนี้อยู่ใกล้กับจุดสูงสุดในรอบ 20 ปีอาจถึงจุดสูงสุด และร่วงลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง