การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีค่าส่วนต่างและ CFD เป็นตราสารที่มีความซับซ้อน และมีความเสี่ยงที่จะได้กำไรและขาดทุนอย่างรวดเร็วสูงจากระบบเลเวอเรจ นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่ขาดทุนจากการเทรดด้วย CFD ดังนั้นก่อนลงทุน คุณควรพิจารณาก่อนว่าสามารถรับความเสี่ยง ที่มีโอกาสจะขาดทุนจากลงทุนได้หรือไม่

อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน (เทคนิคบริหารความเสี่ยง)

อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน (Risk Reward Ratio) (RRR) เป็นหลักความรู้หนึ่งที่อยู่ภายใต้การบริหารความเสี่ยง การลงทุนในตลาดการเงินหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่เงินของนักลงทุนจะต้องเผชิญกับความเสี่ยง

สิ่งที่การบริหารความเสี่ยงจะช่วยคุณได้ก็คือการทำให้มั่นใจว่าคุณจะมีวิธีคิดรองรับความเสี่ยงที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงิน การใช้เทคนิคการลงทุนต่างๆ เช่น อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน จะส่งผลดีต่อการลงทุนของคุณและทำให้คุณอยู่ในจุดที่ดีกว่า เพื่อความสำเร็จในระยะยาว

อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนคืออะไร และทำงานอย่างไร?

อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน คือความเสี่ยงจำนวนเงินทุน ‘X’ ที่จะเข้าไปทำกำไรจำนวน ‘Y’ ในตลาดลงทุน ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจเสี่ยง 100 ปอนด์ในตลาดฟอเร็กซ์เพื่อลองทำกำไร 300 ปอนด์ การลงทุนในลักษณะนี้คิดเป็นอัตราส่วนผลตอบแทนความเสี่ยง 1:3

RRR ทำงานอย่างไร?

RRR ทำงานด้วยหลักการความเข้าใจว่าคุณจะยอมเสี่ยงแค่ไหนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แน่นอน การคำนวณจะต้องเกิดขึ้นก่อนที่คุณจะทำการลงทุน ซึ่งทำได้โดยใช้คำสั่งเฉพาะที่แพลตฟอร์มการลงทุนของคุณควรมี และหากคุณลงทุนผ่าน MT4 แพตฟอร์มนี้จะมีให้คำสั่งที่เอื้อต่อการบริหารความเสี่ยงของคุณ ยกตัวอย่างเช่น คำสั่งตั้งจุดตัดขาดทุนและคำสั่งปิดการทำกำไร (Stop Loss & Take Profit)

เมื่อคุณรู้แล้วว่าต้องการวาง Stop Loss และ Take Profit ไว้ที่ใด คุณสามารถกำหนดได้ว่าจะลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าไร ในทางเดียวกัน คุณจะสามารถกำหนดว่าจะต้องใช้เงินทุนเพื่อเสี่ยงมากแค่ไหน และคุณจะได้รับผลตอบแทนเท่าไหร่ นี่คืออัตราส่วนความเสี่ยงและผลตอบแทนของคุณโดยเฉพาะ

อัตราส่วนความเสี่ยงและผลตอบแทนกับตราสารการลงทุนต่างๆ

อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนสามารถใช้กับการลงทุนได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น ฟอเร็กซ์ หุ้น ดัชนีหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และสกุลเงินดิจิตอล การเลือกใช้ RRR ที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามกลยุทธ์ตลาดลงทุนที่คุณเลือก ยกตัวอย่างเช่น การซื้อขายรถยนต์ หากคุณซื้อรถในราคา 10,000 ปอนด์และหวังว่าจะขายได้ในราคา 13,000 ปอนด์ อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนของคุณจะเท่ากับ 1:0.3 ในวงการรถยนต์นั้นอาจจะมองว่าการลงทุนเช่นนี้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

การเทรดฟอเร็กซ์เป็นเกมที่แตกต่างออกไป มีโอกาสสูงที่ทุน 10,000 ปอนด์นั้นจะกลายเป็น 0 ปอนด์ หากคุณกำลังเทรดฟอเร็กซ์และใช้อัตราส่วน 1:0.3 คุณจะต้องเทรดให้ได้กำไร 77% ของจำนวนครั้งที่ลงทุนทั้งหมดจึงจะถือว่าทำกำไรได้ ข้อแตกต่างในการวาง RRR ของนักลงทุนฟอเร็กซ์แต่ละคนคือเลเวอเรจ (Leverage) ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดในการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงของนักลงทุนเป็นอย่างมาก ความเสี่ยงของการลงทุน (การเทรด) ของคุณจะคุ้มค่าหรือไร้ค่าก็ขึ้นอยู่กับการเลือก RRR ให้เหมาะสมกับเลเวอเรจบัญชีเทรดของคุณ

analysis-trading-strategies-risk-and-reward-ratio-man-graph-image

วิธีการคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยงและผลตอบแทน?

ในการคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน ให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้:

1.) ตั้งค่าการเทรดของคุณ ขั้นตอนนี้คือการกำหนเกลยุทธ์การลงทุน ซึ่งจะทำให้คุณได้ทราบ:

  • แนวทางในการเทรดของตัวเอง
  • ราคาที่คุณต้องการเทรด

2.) กำหนดระดับ stop loss ของคุณ คุณต้องเลือกบริเวณที่จะกลายเป็นสนามรบของคุณ ตำแหน่งไหนจะเป็นที่คุณวางคำสั่งซื้อขาย? ตำแหน่งไหนจะเป็นจุดที่คุณวางแนวรับแนวต้าน? นั่นคือที่ที่คุณจะวาง stop-loss และจุด take profit ของคุณ

3.) กำหนดเป้าหมายการทำกำไรของคุณ จุดต่ำสุดที่คุณคิดว่าจะขึ้นหรือลงไปถึงคือตรงไหน? นั่นจะเป็นระดับราคาเป้าหมายกำไรของคุณ หากขึ้นหรือลงไปมากกว่านั้นถือเป็นกำไรส่วนเกินที่คุณจะเอาหรือไม่เอาก็ได้

หากทำตามข้อ 1-3 มาแล้ว ตอนนี้คุณจะมีจุดเข้าและออกที่วางเอาไว้เรียบร้อย จากนั้นก็ถึงเวลาที่คุณจะสามารถคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยงและผลตอบแทน รูปแบบการคำนวณมีดังนี้:

ระยะห่างระหว่างจุด (Pips) เข้าและจุดตัดขาดทุน = ความเสี่ยง

ระยะห่างระหว่างจุด (Pips) เข้าและจุดทำกำไร = กำไร

หากเป็น 50 pips ไปยังจุดตัดขาดทุนและ 100 pip ไปยังจุดทำกำไร อัตราส่วนผลตอบแทนความเสี่ยงจะเป็น 1:2 ถึงเราจะได้กำหนดอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนแล้ว ก็ยังมีขั้นตอนสำคัญที่ต้องทำเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำทุกอย่างตามกลยุทธ์ความเสี่ยงที่คิดเอาไว้แล้วอย่างถูกต้อง

4.) ระบุจำนวนเงินที่คุณยอมรับได้หากจะต้องขาดทุน จำนวนเงินนั้นอาจเป็น 1% ของบัญชีเทรด สมมุติว่ายอดเงินในบัญชีลงทุนของคุณคือ 10,000 ปอนด์ คุณจะขาดทุนได้ไม่เกิน 100 ปอนด์สำหรับการเทรดพอร์ตนี้

5.) เลือกขนาดของออเดอร์ให้เหมาะสม นักลงทุนจำเป็นต้องคำนวณจำนวน pip ระหว่างจุดเข้าที่คาดหวังและจุดตัดขาดทุนของคุณ และจำนวนเงินที่ยอมรับได้หากต้องขาดทุน (อย่างเช่นในตัวอย่างนี้ 100 ปอนด์) หลังจากมีข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ต่อไปคุณต้องกำหนดจำนวนล็อต (lot) ที่คุณจะวางในการเทรด ขนาดของจำนวนลอตจะขึ้นอยู่กับตลาดที่คุณลงทุนด้วย สำหรับการเลือกขนาดของลอต สามารถอ่านต่อได้ในข้องมูลด้านล่าง

การกำหนดขนาดจำนวน lot ในตลาดฟอเร็กซ์คืออะไร และจะช่วยจัดการความเสี่ยงของคุณได้อย่างไร?

ขนาด (Size) คือจำนวนล็อต ที่คุณจำเป็นต้องเสี่ยงต่อการลงทุนในแต่ละครั้ง ขนาดจำนวนล็อตจะมีความแตกต่างกันออกไปตามประเภทของบัญชีที่คุณเลือกเปิดกับโบรกเกอร์นั้นๆ ตั้งแต่แรก (ไมโคร มินิ หรือมาตรฐาน) และคู่สกุลเงินที่คุณเลือกลงทุน การกำหนดขนาดออเดอร์ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคู่สกุลเงินที่คุณเลือกลงทุน หากคุณเสี่ยงมากเกินไป การขาดทุนเล็กน้อยสามารถฆ่าบัญชีของคุณได้ เสี่ยงน้อยเกินไป และบัญชีของคุณก็จะไม่เติบโต และรับความเสี่ยงในระยะยาวที่เพิ่มขึ้น 

การกำหนดขนาดออเดอร์ช่วยให้คุณกำหนดจำนวนหน่วยของคู่สกุลเงินที่คุณจะเทรด ในการคำนวณขนาดออเดอร์ คุณต้องมีข้อมูลต่อไปนี้

  • คู่สกุลเงินที่คุณกำลังเทรด
  • จำนวนเงินทั้งหมดและยอดคงเหลือของบัญชี
  • ความเสี่ยงที่บัญชีของคุณต้องเจอคิดเป็นเปอร์เซ็นต์
  • จุดตัดขาดทุนที่กำหนดเป็น pips

นี่คือตัวอย่างการใช้งาน สมมุติว่าบัญชีของคุณมีข้อมูลดังต่อไปนี้

  • บัญชีของคุณเป็นสกุลเงินดอลลาร์
  • คู่สกุลเงินคือ EUR/USD
  • คุณมี $10,000 ในบัญชีของคุณ
  • คุณต้องการเสี่ยง 1% ของบัญชีของคุณ
  • คุณตั้งใจที่จะตั้งจุดตัดขาดทุน 100 pips

ความเสี่ยงของคุณจะมีดังต่อไปนี้:

  • คุณจะต้องเสี่ยงเงินจำนวน 100 ไมโครหน่วยของสกุลเงิน
  • ขนาดล็อตที่ควรลงทุนจะเป็น 0.1

หากคุณใช้แพลตฟอร์มระดับมืออาชีพอย่างเช่น MT4 จะเครื่องคำนวณขนาดออเดอร์ที่คุณสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี เพื่อช่วยให้คุณคำนวณขนาดออเดอร์ของคุณได้โดยอัตโนมัติ

จะสามารถเพิ่มอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนได้อย่างไร?

หากต้องการเพิ่ม RRR มีสองวิธีที่คุณสามารถทำได้

1.) เพิ่มเป้าหมายกำไรของคุณ เมื่อคุณเพิ่มระดับเป้าหมายและรักษาจุดตัดขาดทุนไว้เท่าเดิม RRR ของคุณจะเพิ่มขึ้น

หาก Stop Loss ของคุณอยู่ห่างออกไป 50 pips และเป้าหมายกำไรของคุณอยู่ห่างออกไป 100 pips RRR ของคุณคือ 1:2 หากคุณย้ายเป้าหมายไปที่ 150 pips RRR ของคุณจะเพิ่มขึ้นเป็น 1:3

2.) ลดระดับจุดตัดขาดทุนของคุณ ย้ายระดับจุดตัดขาดทุนของคุณเข้าใกล้จุดเปิดของคุณมากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงของคุณ ใช้ตัวอย่างเดียวกัน (50 pips สำหรับ stop loss และ 100 pips สำหรับจุดทำกำไร) หากคุณย้ายจุดตัดขาดทุนไปที่ 25 pips ตัวเลข RRR ของคุณจะเปลี่ยนจาก 1:2 เป็น 1:4

แม้ว่าทั้งสองวิธีจะเป็นวิธีที่เป็นไปได้ในการเพิ่มอัตราส่วนผลตอบแทนความเสี่ยงของคุณ แต่คุณเองก็ต้องแน่ใจว่าสิ่งที่คุณทำนั้นสอดคล้องกับกลยุทธ์ของคุณ ต้องตรวจสอบทุกครั้งว่าการเปลี่ยนระดับ stop-loss หรือจุดทำกำไรนั้นยังเป็นไปตามกลยุทธ์ที่เราวางเอาไว้ตั้งแต่แรก

ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าตอนแรกคุณวาง Stop Loss 50 pips ให้ห่างจากจุดเปิดของคุณ เพราะมองว่าระดับนั้นไม่เหมาะสมตามสถานการณ์อีกต่อไป ในสถานการณ์เหล่านี้ การขยับเข้าใกล้จุดเปิดมากเกินไปอาจจะไม่สมเหตุสมผลในเชิงกลยุทธ์ เพราะออเดอร์ของคุณอาจปิดก่อนที่ออเดอร์ของคุณจะได้เริ่มทำกำไร และอาจจะทำให้คุณพลาดโอกาสการทำกำไร 50 pips

analysis-trading-strategies-risk-and-reward-ratio-man-graph2-image

คุณยืนอยู่ตรงไหนในอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน?

เทรดเดอร์ไม่สามารถเพิกเฉยต่อความเสี่ยงและผลตอบแทน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนของพวกเขา นักลงทุนต้องสามารถบอกได้อย่างแม่นยำว่าที่ระดับราคาไหนที่ถือว่าการคาดการณ์ของพวกเขาเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องแล้ว และพวกเขาต้องตัดสินใจว่าสิ่งใดถือเป็นเป้าหมายที่เป็นจริง นักลงทุนต้องพัฒนาเซนส์ของการลงทุนโดยอ้างอิงจากประวัติการวิ่งของตลาดที่ผ่านมา ทั้งที่พึ่งเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นมานานแล้ว การวางเป้าหมายที่ใหญ่เกินจริงกับการเทรดพราะจะทำให้ RRR ของคุณดูดี จะยิ่งทำให้การเข้าถึงเป้าหมายที่แท้จริง ยิ่งเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น

นักลงทุนไม่สามารถของข้าม RRR ได้ เพราะมันมีความสำคัญต่อผลกำไรของคุณ มากพอๆ กับวิธีการเทรดและกลยุทธ์ของพวกเขา ในฐานะที่คุณเป็นนักลงทุน คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้บันทึกข้อมูลการเทรดและ RRR ทั้งหมด เพื่อที่คุณจะสามารถย้อนกลับมาดูสิ่งที่เคยทำ และวิเคราะห์ผลลัพธ์ของคุณได้ นี่เป็นกุญแจสำคัญในการปรับปรุงกลยุทธ์การลงทุนของคุณ ยกตัวอย่างเช่น

  • คุณได้เทรดไปแล้ว 100 ครั้ง
  • การเทรดแต่ละครั้งมีความเสี่ยง 100
  • การเทรดของคุณมีโอกาสเพียง 50 เท่านั้น
  • คุณขาดทุนในการเทรดไปแล้ว 50 ครั้ง
  • ทุกการเทรดมี RRR คงที่อัตรา 1:2

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ

  • คุณมีโอกาสจะขาดทุน 5,000 ปอนด์
  • คุณมีโอกาสจะทำเงินได้ 10,000 ปอนด์หากเทรดถูกทาง
  • คุณจะได้กำไร 5,000 ปอนด์

เกิดอะไรขึ้นถ้าอารมณ์เข้าขัดความเหตุผล? คุณอาจจะย้ายจุดตัดขาดทุนและจุดทำกำไรก่อนที่ราคาจะวิ่งขึ้นไปถึงเป้าหมายของคุณ เมื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์แล้ว คุณพบว่า:

  • จากกำไรและขาดทุนสำหรับการเทรดแต่ละครั้ง RRR ของคุณคือ 1:1.2
  • คุณทำเงินได้จากการเทรด 50 ครั้ง
  • คุณขาดทุนจากการเทรต 50 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ

  • คุณขาดทุนจากการเทรด 5,000 ปอนด์
  • คุณได้กำไรจากการเทรด 6,000 ปอนด์
  • กำไรของคุณคือ £1,000

การเก็บบันทึกผลการเทรดจะช่วยให้คุณเห็นข้อผิดพลาดและหาทางปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนของคุณในอนาคต

 การบริหารความเสี่ยงคืออะไร?

ในการลงทุน การจัดการความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่คุณใช้เพื่อปกป้องบัญชีการเทรดของคุณ คำว่า ‘ความเสี่ยง’ หมายถึง ‘แนวโน้มที่คุณจะสูญเสียเงินที่มีหรือขาทุน’ ซึ่งจะรวมถึงความเสี่ยงต่อการเทรดและการลงทุนในตลาดโดยรวมของนักลงทุนคนนั้นๆ

  • ความเสี่ยงต่อการเทรด หมายถึงจำนวนเงินที่คุณจะขาดทุนในการเทรดแต่ละครั้ง
  • ความเสี่ยงจากการวางคำสั่งซื้อขาย หมายถึงจำนวนเงินที่คุณจะเสียหากออเดอร์ที่เปิดอยู่ทั้งหมดขาดทุน

คุณอาจเสี่ยงเพียง 0.5% ในการเทรดแต่ละครั้ง แต่ถ้าคุณมี 100 ออเดอร์ที่เปิดอยู่ภายใต้ความเสี่ยงนั้น ความเสี่ยงทั้งหมดของคุณจะเป็น 50% ของบัญชีคุณ

ความเสี่ยงทั้งหมดยังหมายถึงความเสี่ยงที่คุณมีในตลาดลงทุนแห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่ใช่แค่ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจมีความเสี่ยง 0.5% ในการเทรดฟอเร็กซ์ – GBP/USD หากคุณต้องเปิดออเดอร์อื่นอีกหกตัวเช่น EUR/USD, USD/JPY, USD/CAD, AUD/USD, USD/CHF และ NZD/USD โดยมีความเสี่ยงเท่ากัน คุณจะมีความเสี่ยงทั้งหมด 3.5% หากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า

สิ่งนี้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งออเดอร์ในการเทรดของคุณแต่ละครั้ง แต่ถ้าคุณถือ USD ในทุกๆ คู่สกุลเงิน ความเสี่ยงของคุณจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเทขายดอลลาร์สหรัฐ การบริหารความเสี่ยงเป็นวินัยง่ายๆ ในการพัฒนาที่จะนำไปสู่ภาคปฏิบัติ และจำเป็นต่อความก้าวหน้าของคุณในฐานะเทรดเดอร์ คุณสามารถจัดการความเสี่ยงของคุณได้หลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น

  • จำกัดจำนวนการเทรดต่อวันหรือต่อสัปดาห์
  • กำหนดและจำกัดตลาดที่คุณจะเทรด
  • จำกัดความเสี่ยงของคุณต่อการเทรด
  • จำกัดความเสี่ยงโดยรวมและความเสี่ยงของตลาด
  • ใช้คำสั่งจุดตัดขาดทุนและการทำกำไรแบบ limit orders

เหตุใดจึงจำเป็นต้องใช้แนวทางที่สมดุลในการบริหารความเสี่ยง

เมื่อคุณแล่นเรือข้ามท่าเรือ คุณจะมีโอกาสลอยน้ำได้มากขึ้นหากน้ำหนักบนเรือสมดุลกัน ความสมดุลของความเสี่ยงจะช่วยให้คุณอยู่ในตลาดได้ในระยะยาวโดยไม่ทำให้เท้าเปียก!

พวกเราส่วนใหญ่ใช้วิธีการที่สมดุลในการจัดการความเสี่ยงในชีวิตประจำวันของเราโดยสัญชาตญาณ ข้ามถนนที่พลุกพล่าน เราจะประเมินความเร็วของการจราจรที่สวนมา ช่องว่างระหว่างยานพาหนะ ความกว้างของถนน และว่ามีเสาหลักที่ปลอดภัยตรงกลางทางหรือไม่ บางวันเราจะไปหาช่องว่าง แต่สำหรับบางวัน – สมมติว่าฝนตก – เราจะประเมินใหม่และตัดสินใจเดินไปยังจุดผ่านแดน

ความสมดุลของความเสี่ยงนั้นเป็นสิ่งที่คุณต้องทำในตลาด ด้วยเงื่อนไขการซื้อขายที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องให้ประเมินความเสี่ยงของคุณใหม่อย่างต่อเนื่อง ถามตัวเองว่ายังเหมาะกับกลยุทธ์ของคุณหรือไม่ คุณทำการซื้อขายมากเกินไปหรือไม่? คุณเสี่ยงมากเกินไปต่อการซื้อขายหรือไม่? คุณทำตามความเป็นจริงหรือไม่ หากจำเป็น ให้ดำเนินการเพื่อปรับสมดุล

analysis-trading-strategies-risk-and-reward-ratio-risk-image

5 เทคนิคการบริหารความเสี่ยง

เทคนิคการบริหารความเสี่ยงมีความสำคัญต่อความสำเร็จของกลยุทธ์การเทรดของคุณ นี่คือสิ่งที่แยกเทรดเดอร์มืออาชีพกับเทรดเดอร์ทั่วไปออกจากกัน ความสามารถในการใช้เทคนิคเหล่านี้ในเวลาที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายการลงทุนได้ 

1. กำหนดแผนด้วยกลยุทธ์การลงทุน

แผนการเทรดคือชุดของกฎเกณฑ์เงื่อนไขที่ควบคุมวิธีการเทรดของคุณ มันจะเป็นชุดของเกณฑ์ที่คุณต้องปฏิบัติตามเพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าการเทรดของคุณมีความสม่ำเสมอ และเพื่อให้คุณสามารถติดตามประสิทธิภาพการเทรดของคุณได้อย่างง่ายดาย 

คุณจะสามารถกำหนดกลยุทธ์การเทรดได้อย่างไร?

มีบางสิ่งที่คุณต้องพิจารณาเมื่อต้องกำหนดกลยุทธ์การซื้อขายของคุณ

  • คุณจะสามารถเทรดได้เมื่อไหร่?
  • คุณจะเทรดในตลาดใด?
  • การตั้งค่าการเทรด คุณจะใช้เทคนิคการวิเคราะห์อะไร?

o คุณมองทิศทางของตลาดเป็นอย่างไร?

o คุณจะกำหนดจุดเข้าของคุณอย่างไร?

o คุณจะกำหนดจุดออกของคุณอย่างไร?

  • การบริหารความเสี่ยง

o คุณจะรับความเสี่ยงต่อการเทรดได้มากแค่ไหน?

o คุณจะสามารถลงทุนได้มากที่สุดกี่ตลาด?

  • การส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาด

o อะไรเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจว่าควรซื้อหรือขาย?

  • การบริหารคำสั่งซื้อ

o คุณจะเพิ่มหรือลดออเดอร์ของคุณหรือไม่?

o คุณจะเลื่อนจุดตัดขาดทุนหรือไม่?

หากคุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ทั้งหมด และมีความสม่ำเสมอในการทำตามกลยุทธ์ คุณจะสามารถจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น

2. กระจายพอร์ตการลงทุน

การกระจายพอร์ตการลงทุนของคุณหมายถึงการลงทุนในตลาดที่มากกว่าหนึ่งตลาดลงทุนขึ้นไป คุณสามารถกระจายพอร์ตการลงทุนของคุณภายในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน หรือคุณสามารถกระจายความเสี่ยงโดยการซื้อขายสินทรัพย์ในประเภทที่ต่างกันได้

การกระจายการลงทุนภายในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน

ฟอเร็กซ์ – หากคุณเทรดในตลาดฟอเร็กซ์ คุณสามารถลงทุนในคู่สกุลเงินใดก็ได้ที่คุณต้องการ (เท่าที่โบรกเกอร์ของคุณจะมีให้เลือก) หากคุณเลือกคู่สกุลเงินที่มีการจับคู่กับดอลลาร์สหรัฐ คุณจะเริ่มตั้งแต่ศึกษาว่าพฤติกรรมความเคลื่อนไหวของราคามีลักษณะเป็นเช่นไร

หาก USD แข็งค่าขึ้นจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และคุณขายดอลลาร์จากการเทรดในคู่สกุลเงินหลายคู่ ยอดเงินในบัญชีของคุณอาจติดลบได้

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องต้องทราบว่าคุณกำลังถือคู่สกุลเงินใดอยู่บ้าง หากคุณมีสองออเดอร์ในคู่ USD ที่ความเสี่ยง 0.5% และคุณตัดสินใจที่จะรับความเสี่ยงเดียวกันด้วยคุ๋สกุลเงิน USD อีกหนึ่งคู่ พอรต์ของคุณจะมี USD อยู่ที่ 1.5% ดังนั้นจึงควรมองกระจายความเสี่ยง ไม่มองหาคู่สกุลเงินอื่นที่มีพ่วงด้วยดอลลาร์สหรัฐอีก

หุ้น – หากคุณมีพอร์ตหุ้น การกระจายความเสี่ยงจากส่วนใดส่วนหนึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของคุณได้ หากคุณถือหุ้นในกลุ่มการท่องเที่ยวเท่านั้น แล้วเกิดการระบาดใหญ่ (ดังที่เราเห็นในปี 2020) พอร์ตโลงทุนทั้งหมดของคุณจะได้รับผลกระทบอย่างมาก การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเดินทางทั่วโลก ส่งผลให้หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดอย่างที่ไม่เคยได้เห็นมาก่อน หากคุณลงทุนในหุ้นหลายกลุ่ม ผลลัพธ์ที่ออกมาจะไม่เป็นเช่นนี้

คุณยังสามารถกระจายความเสี่ยงระหว่างสินทรัพย์ในหลากหลายประเภท เมื่อทำการเทรดกับโบรกเกอร์เช่น ATFX ที่มีสินทรัพย์ห้าประเภทที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถกระจายความเสี่ยงของคุณได้ดียิ่งขึ้น

แม้ว่าตลาดทั้งหมดจะเชื่อมโยงกัน แต่ก็แแตกต่างกันออกไป ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อน้ำมันมักจะส่งผลกระทบต่อคู่สกุลเงิน USD/CAD แต่กระทบกับ GBP/USD หรือบิทคอยน์น้อย

3. เพิ่มเครื่องมือการเทรดให้กับสรรพกำลังทางการลงทุนของคุณ

มีเครื่องมือการเทรดมากมายที่คุณสามารถนำไปใช้กับกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงของคุณได้ ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของเครื่องมือตัวช่วยการลงทุน ที่จะทำให้ชีวิตของคุณสบายขึ้น

อินดิเคเตอร์ – สัญญาณชี้วัดทางเทคนิค สัญญาณเหล่านี้ให้สัญญาณการเทรดตามสมการทางคณิตศาสตร์ อินดิเคเตอร์จะแจ้งให้คุณทราบว่าเมื่อไหร่ที่คุณควรเข้าหรือออกจากตลาด โดยปกตินักลงทุนจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเทรด หากคุณใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นแนวทางหลักของคุณ การมีอินดิเคเตอร์คู่ใจเอาไว้ข้างกายสักตัวถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาด

ปฏิทินเศรษฐกิจ – ข้อมูลนี้จะแสดงให้คุณเห็นเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวเกี่ยวกับตลาดลงทุน หากคุณมีการศึกษามาก่อนล่วงหน้า ข้อมูลของคุณจะบอกคุณว่าตลาดใดที่อาจได้รับผลกระทบจากตัวเลขเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น รายงานเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อ GBP/USD หากคุณเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้น คุณจะต้องคอยดูรายงานผลประกอบการจากบริษัทที่คุณเป็นเจ้าของหุ้นตัวนั้นๆ ด้วย

เครื่องมือบริการการเทรด – บางแพลตฟอร์มจะมีประเภทคำสั่งขั้นสูง ที่จะช่วยคุณจัดการบริหารออเดอร์และความเสี่ยงของคุณ ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้การตั้ง trailing stop อัตโนมัติได้ ซึ่งถูกกำหนดให้อยู่ห่างจากราคาในระดับหนึ่ง และจะเคลื่อนไปตามราคา มันจะเคลื่อนที่มากเท่าไหร่ได้ก็ต่อเมื่อราคาเคลื่อนตัวไปในทางที่คุณคิด สมมุติคุณตั้งค่า Trailing Stop Loss ให้อยู่ต่ำกว่าราคา 50 pip เสมอ ทันทีที่คุณเทรดที่ 1.5000 trailing stop จะอยู่ที่ 1.4950

หากราคาขยับไปที่ 1.5010 trailing stop จะขยับตามที่ 1.4960 หากราคาขยับกลับไปที่ 1.5000 trailing stop จะยังคงอยู่ที่ 1.4960 คุณต้องรู้ว่าคุณควรใช้เครื่องมือประเภทนี้ต่อเมื่ออยู่ในกลยุทธ์ของคุณเท่านั้น

การเทรดอัตโนมัติ – การเทรดอัตโนมัติกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ นี่คือที่ที่คุณสามารถตั้งค่าพารามิเตอร์การเทรดของคุณ และให้อัลกอริทึมทำการเทรดในนามของคุณ ตราบใดที่คุณตั้งจุด stop-loss และ take-profit ที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม คุณก็ไม่ควรละเมิดกฎการบริหารความเสี่ยงที่ตัวเองตั้งเอาไว้ 

เมื่อพูดถึงระบบเทรดอัตโนมัติ ก็ต้องยกให้กับ MT4 ผู้นำระดับโลกในด้านของการเป็นแพลตฟอร์มการลงทุน และการเปิดพื้นที่ให้กับการทำระบบซื้อขายอัตโนมัติ (EAs) หากคุณยังไม่มั่นใจ สามารถทดลองเทรดด้วยบัญชีเงินสมมุติ เพื่อดูว่ากลยุทธ์ของคุณสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ MT4 อนุญาตให้คุณสามารถทดสอบระบบของคุณได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง 

นอกจากเครื่องมือที่ได้พูดถึงไปก่อนหน้านี้ ATFX ยังมีตัวช่วยด้านการลงทุนต่างๆ อีกเช่น Trading Central หรือ Autochartist ตัวช่วยทั้งสองสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับการเทรดของคุณได้อย่างแน่นอน เครื่องมือนี้สามารถเสนอรายงานการวิเคราะห์ทางเทคนิคระดับเฟิร์สคลาส และกลยุทธ์ทางเทคนิคที่คุณสามารถทดลองได้ เช่นเดียวกับอิดิเคเตอร์ชั้นสูงที่มีให้เฉพาะ MT4 เท่านั้น

4. การคำนวณต้นทุนอื่นๆ เพิ่มเติม

ในฐานะนักลงทุนอิสระ คุณจะมีต้นทุนที่ต้องจ่ายทั้งแบบคงที่และไม่คงที่ ดังนั้น คุณต้องประเมินต้นทุนในการเทรดของคุณอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ได้จ่ายไปมากกว่าที่ควรจะเป็น ในบางครั้ง การเทรดมากเกินไปอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อผลกำไรของคุณ

คำนวณต้นทุนอื่นๆ เพิ่มเติมของคุณอย่างไร?

1.) ก่อนอื่นคุณต้องรู้ว่าต้นทุนเหล่านั้นคืออะไร คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมหลักสามอย่างเมื่อทำลงทุนผ่านโบรกเกอร์

  • สเปรด – ค่าส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย
  • คอมมิชชัน – จำนวนเงินที่กำหนดไว้สำหรับการเทรด
  • ค่าธรรมเนียมข้ามคืน – ค่าธรรมเนียมที่คุณจ่ายเพื่อคงสถานะของคุณข้ามคืนในการเทรดที่มีระบบเลเวอเรจ

2.) ขั้นต่อไปคุณต้องเข้าใจว่าตลาดที่เหมาะกับคุณ ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่คุณใช้เทรดและโบรกเกอร์ที่คุณเลือก เมื่อมีข้อมูลส่วนนี้ จึงจะสามารถคำนวณต้นทุนคงที่ตามที่ได้กล่าวไปในข้อที่ 1 ได้

3.) กำหนดความถี่ในการเทรดของคุณ และดูว่าคุณจำเป็นต้องถือสถานะข้ามคืนหรือไม่ (สำหรับการเทรดกับตลาดที่มีเลเวอเรจ)

4.) เฉลี่ยจำนวนการเทรดที่คุณทำต่อวัน ต่อสัปดาห์ หรือต่อเดือน เพื่อให้คุณทราบเกี่ยวกับปริมาณออเดอร์ที่คุณเทรดทั้งหมด

5.) เมื่อคุณมีข้อมูลตัวเลขและต้นทุนต่อการเทรดในแต่ละครั้งแล้ว คุณสามารถคูณได้ เพื่อหาว่าคุณจ่ายเงินให้กับโบรกเกอร์เท่าไหร่

จำไว้ว่าต้นทุนจะส่งผลต่อกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงโดยรวมของคุณ ถึงคุณสามารถลดต้นทุนการเทรดได้ ก็ยังมีความเสี่ยงในจุดอื่นๆ อยู่ดี

5. การควบคุมอารมณ์ในการเทรด (เอาชนะความรู้สึกของคุณด้วยจิตวิทยาการเทรด)

จิตวิทยาการลงทุนเป็นหนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการลงทุน เพราะวิธีการนี้คือคุณกำลังพยายามบริหารจัดการอารมณ์ของตัวเองอยู่ นี่ไม่ใช่ปัญหาที่คุณเจออยู่คนเดียว สภาวะทางอารมณ์ในตลาดการเงินทั้งหมดสามารถนำมาประกอบกันเป็นจิตวิทยาหมู่ได้ ยิ่งคุณเทรดและวิเคราะห์ตลาดมากเท่าไหร่ คุณก็จะสังเกตเห็นช่วงเวลาที่อารมณ์เหล่านั้นพรั่งพรูออกมาในตลาดมากขึ้นเท่านั้น

analysis-trading-strategies-risk-and-reward-ratio-trading-chart-image

ตลาดเคลื่อนที่เป็นวัฏจักร และคุณสามารถระบุอารมณ์ต่างๆ กับช่วงเวลาต่างๆ ในกรอบเวลานั้นๆได้ สภาวะทางอารมณ์ในตลาดที่คุณจะได้เห็นบางส่วนมีดังต่อไปนี้

  • ความหวัง
  • ความโล่งใจ
  • การมองในแง่ดี
  • ความตื่นเต้น
  • ความอิ่มอกอิ่มใจ
  • ความวิตกกังวล
  • การปฏิเสธความจริง
  • ความกลัว
  • ความสิ้นหวัง
  • การตื่นตรหนก
  • การยอมจำนน
  • ความอิ่มเอม
  • ภาวะซึมเศร้า

ไม่มีใครหยุดสภาวะทางอารมณ์เช่นนี้ได้ ดังนั้นจิตวิทยาของตลาดจะดำเนินวนเป้นลูปเช่นนี้ต่อไป เพราะนั่นคือสิ่งที่ทุกคนในตลาดรู้สึกร่วมกัน

ฉันจะสามารถควบคุมอารมณ์อย่างไร?

มีแผนการเทรด – คุณอาจเบื่อที่จะได้ยินสิ่งนี้ แต่แผนการเทรดเป็นสิ่งเดียวที่สร้างความแตกต่างครั้งแล้วครั้งเล่า การมีแผนการเทรดและสามารถปฏิบัติตามได้ เป็นก้าวแรกในการพยายามควบคุมอารมณ์

บันทึกการเทรด – เก็บบันทึกข้อมูลการเทรดของคุณทุกครั้ง หาเวลาว่างมองดูข้อมูลเหล่านั้นโดยไม่มีอารมณ์ของตลาดอยู่เบื้องหลัง คุณจะเห็นสิ่งที่คุณได้ตัดสินใจลงไปชัดเจนมากยิ่งขึ้น และคุณอาจจะสามารถเห็นได้ว่าการเทรดครั้งใดถูกควบคุมโดยอารมณ์ของคุณ

  • สิ่งใดที่คุณมองข้ามตัวควบคุมความเสี่ยงของคุณ? อาจเป็นเพราะอารมณ์ของคุณ
  • คุณออกจากตลาดเร็วเกินไปหรือไม่? คงเป็นเพราะอารมณ์ของคุณ

มีระบบเทรดอัตโนมัติ – ขจัดอารมณ์จากการเทรด และปล่อยให้บอททำสิ่งนั้นแทนคุณ หากคุณสามารถตั้งค่ากลยุทธ์ที่มีตัวแปรเพียงไม่กี่ตัว หรือคุณสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญบน MT4 ได้ หากทำได้เช่นนี้ ก็มีแนวโน้มที่จะสามารถยึดอยู่กับแผนการเทรด และกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของคุณได้มากขึ้น

การตั้งค่าจุดตัดขาดทุนและจุดทำกำไรเป็นส่วนหนึ่งของระบบอัตโนมัติ เนื่องจากแพลตฟอร์ม MT4 อนุญาตให้ตั้งโปรแกรมให้ดำเนินการตามคำสั่งของคุณได้ เมื่อมีการเข้าเงื่อนไขการเทรดเกิดขึ้น หากคุณให้การเทรดของคุณเกิดขึ้นผ่านระบบอัตโนมัติ คุณก็ไม่มีเหตุผลที่จะเข้าไปแทรกแซงการเทรดด้วยตนเอง ดังนั้นวิธีนี้จึงสามารถขจัดอารมณ์ความรู้สึกออกไปได้

เคล็ดลับการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติม

หากเทคนิคทั้ง 5 ข้อข้างต้นยังไม่พอ เราจะให้ข้อมูลพิเศษแก่คุณอีก เพื่อให้คุณมีข้อมูลเพียงพอต่อการบริหารการเงิน

เสี่ยงในจำนวนเงินที่คุณยอมรับได้

อย่าลงทุนด้วยเงินที่จำเป็นต้องใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่สำคัญว่าขนาดบัญชีของคุณจะเล็กแค่ไหน คุณสามารถเพิ่มเงินเข้าบัญชีได้เสมอ เมื่อคุณมีประสบการณ์และความมั่นใจ

อย่านำเงินออมทั้งหมดของคุณไปไว้ในบัญชีเทรด ให้ตัดสินใจว่าเงินส่วนใดจากการออมที่คุณสามารถเสี่ยงได้ คุณยินดีที่จะเสีย 10% เพื่อเรียนรู้ที่จะเป็นเทรดเดอร์ที่ดีขึ้นหรือไม่?

พิจารณาความอดทนต่อความเสี่ยงของคุณ

ความอดทนต่อความเสี่ยงขึ้นอยู่กับความทะเยอทะยานและจิตใจของคุณ คุณจะค้นพบว่ามันคือสิ่งที่จะเข้าใจก็ต่อเมื่อคุณเปิดเห็นตลาดจริง ด้วยเงินจริงที่มีความเสี่ยง หากคุณพบว่าตัวเองเหนื่อยกับผลที่ได้ และพบว่าตัวเองเข้าไปยุ่งในตลาดเร็วเกินไป ซึ่งจะทำให้แผนการซื้อขายของคุณเสียหาย บางทีคุณอาจต้องลดความเสี่ยงต่อการเทรดแต่ละครั้งลง

กำหนด RRR ตามความเป็นจริง

คุณต้องกำหนดระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนตามความเป็นจริง คุณสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น ตัวบ่งชี้ ATR (กรอบการวิ่งของราคาโดยเฉลี่ยที่แท้จริง) เพื่อกำหนดกรอบการวิ่งของราคาในอดีตจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น EUR/USD จะมีกรอบการวิ่งอยู่ในช่วง 150 pip ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคงจะไม่เหมาะสมหากจะกำหนดเป้าหมายการเคลื่อนไหว 200 pip ในตอนนี้เพื่ออัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน 1: 5 (กำไร)

รักษาความเสี่ยงและผลตอบแทนสม่ำเสมอ

มือใหม่พบว่าการเพิ่มความเสี่ยงเป็นเรื่องน่าดึงดูดเมื่อสามารถเอาชนะตลาดได้บ่อยๆ แต่พวกเขามักจะล้มเหลวในการปรับความเสี่ยงเมื่อต้องพ่ายแพ่แก่ตลาด อย่าเข้าไปยุ่งหรือจุกจิกกับระบบมากเกินไป ให้แผนการเทรดของคุณได้ทำหน้าที่ของมัน

ทำความเข้าใจมาร์จิ้นและเลเวอเรจ

การใช้เลเวอเรจทำให้คุณสามารถซื้อขายเงินได้มากกว่าเงินฝากเริ่มต้นเนื่องจากการซื้อขายมาร์จิ้น เลเวอเรจเพิ่มผลกำไรของคุณ แต่ปรากฏการณ์เดียวกันนี้ก็มีผลกับการสูญเสียของคุณเช่นเดียวกัน คุณต้องเข้าใจว่าเลเวอเรจและมาร์จิ้นมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพโดยรวมและการซื้อขายของคุณอย่างไร

การใช้เลเวอเรจสูงเพื่อมุ่งหวังผลกำไรจำนวนมากอาจเป็นเรื่องที่น่าดึงดูดใจ แต่การใช้เลเวอเรจมากเกินไปอาจนำไปสู่การขาดทุนจำนวนมากเนื่องจากข้อผิดพลาดในส่วนของคุณหรือการเคลื่อนไหวของตลาดกะทันหัน

การบริหารความเสี่ยงเป็นแบบแผนครั้งเดียวหรือไม่?

แม้ว่าการจัดการเงินที่ดีจะต้องเป็นคุณลักษณะถาวรของแผนการซื้อขายของคุณ เทคนิคการบริหารความเสี่ยงของคุณไม่ควรได้รับการแก้ไขอย่างถาวร ทัศนคติต่อความเสี่ยงจะพัฒนาขึ้นเมื่อการซื้อขายของคุณพัฒนาขึ้น และคุณอาจเริ่มต้นในฐานะผู้ค้ารายวัน แต่ตัดสินใจว่าการซื้อขายแบบสวิงเหมาะกับจิตใจและข้อจำกัดด้านเวลาของคุณมากกว่า พารามิเตอร์ความเสี่ยงของคุณจะเปลี่ยนไปเมื่อการซื้อขายของคุณเปลี่ยนไป

ข่าวสารล่าสุด
เริ่มเทรดไปด้วยกันวันนี้!
ลองใช้บัญชีเงินสมมุติของเราฟรีเพื่อเรียนรู้การลงทุน เมื่อคุณพร้อมแล้ว ให้เปลี่ยนไปใช้บัญชีจริงและเริ่มเทรดจริง
ATFX

Restrictions on Use

Products and Services on this website https://www.atfx.com/en-ae/ are not suitable
in your country. Such information and materials should not be regarded as or
constitute a distribution, an offer, or a solicitation to buy or sell any investments.
Please visit https://www.atfx.com/en/ to proceed.

ATFX

使用限制

本网站的产品及服务不适合英国居民。网站内部的信息和素材不应被视为分销,要约,买入或卖出任何投资产品。请继续访问 https://www.atfx.com/en/

ATFX

Restrictions on Use

Products and Services on this website are not suitable for the UK residents. Such information and materials should not be regarded as or constitute a distribution, an offer, or a solicitation to buy or sell any investments. Please visit https://www.atfx.com/en/ to proceed.

ATFX

Restrictions on Use

Products and Services on this website are not suitable for the UK residents. Such information and materials should not be regarded as or constitute a distribution, an offer, or a solicitation to buy or sell any investments. Please visit https://www.atfx.com/en/ to proceed.

ATFX

Restrictions on Use

Products and Services on this website are not suitable for Hong Kong residents. Such information and materials should not be regarded as or constitute a distribution, an offer, solicitation to buy or sell any investments.

使用限制: 本網站的產品及服務不適合香港居民使用。網站內部的信息和素材不應被視為分銷,要約,買入或賣出任何投資產品。

ATFX

Restrictions on Use

AT Global Markets (UK) Limited does not offer trading services to retail clients.
If you are a professional client, please visit https://www.atfxconnect.com/