ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หนึ่งในข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ประจำเดือนมิถุนายนจะมีรายงานออกมาเร็วๆ นี้ ก่อนหน้านี้ ตัวเลขในเดือนพฤศภาคมเคยออกมาอยู่ที่ 8.60% ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าข้อมูลตัวเลข CPI ในเดือนมิถุนายนจะเพิ่มขึ้นเป็น 8.8% กา ฌอง-ปิแอร์ เลขาธิการสำนักข่าวแห่งทำเนียบขาวสหรัฐฯ เตือนว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ประจำเดือนมิถุนายนอาจจะ “เพิ่มขึ้นอย่างมาก” เนื่องจากราคาน้ำมันและอาหารพุ่งสูงขึ้น
นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเป็นเช่นนั้น จะยิ่งสนับสนุนการตัดสินใจที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดต่อไป หากเฟดเริ่มทำนโยบายการเงินแข็งกร้าวมากขึ้น อย่างเช่นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเฟดปลายเดือนนี้ จะทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ค่อนข้างมีความสำคัญ ความเชื่อช่วยสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐให้แข็งค่าขึ้นในระยะสั้น ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง จากข้อมูลของ CME FedWatch ความน่าจะเป็นของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนกรกฎาคมนี้คือ 17.4% และความน่าจะเป็นของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% คือ 82.6%
ก่อนหน้านี้ มิเชลล์ โบว์แมน ประธานเฟดแห่งชิคาโก, อีแวนส์ ชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดชิคาโก, ผู้ว่าการเฟด คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์, ประธานเฟดมิแห่งนนิอาโปลิส นีล คัชคารี และประธานเฟดแห่งซานฟรานซิสโก แมรี่ เดลี ต่างก็สนับสนุนให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมอีก 0.75% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และแผนภูมิภาพ “dot plot” ของเฟด ที่ออกมาเมื่อเดือนที่แล้วก็แสดงให้เห็นว่าภายในสิ้นปี อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของเฟดจะเพิ่มขึ้นจากกรอบเป้าหมายปัจจุบันที่ 1.5% เป็น 1.75% และเป็น 3.4%
นักลงทุนเชื่อว่า CPI ของสหรัฐฯ จะยังคงอยู่เหนือระดับตัวเลข 8% เป็นเวลาสี่เดือนติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงกันยายน ซึ่งความว่าตลาดยังคงต้องรับผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อ ที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะดำเนินต่อไป นอกจากนี้ ตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐในเดือนพฤษภาคมยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 0.2% 0.30% จากการลดลงอย่างรวดเร็วของยอดขายรถยนต์และผลกระทบของราคารถยนต์ที่สูงขึ้น ยอดค้าปลีกที่ลดลงอย่างไม่คาดคิดทำให้ตลาดลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยสูงซึ่งนำไปสู่ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้ตัวเลขค้าปลีกหดตัวลดลงต่อไป
ในทางกลับกัน สถานการณ์เช่นนี้ยังส่งเสริมให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยิ่งแข็งค่าขึ้น ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ทะลุระดับ 108 โดยแตะจุดสูงสุดที่ 108.2 คิดเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1.2% ซึ่งแตะจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2002 และยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีเงินดอลลาร์จะปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงการประชุมเฟด นักลงทุนขาขึ้นมีโอกาสที่จะได้เปรียบในระยะสั้น
ในระยะกลางและยาว แนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะยังขึ้นอยู่กับการตัดสินใจการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดและแนวทางในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายหลัง หากเฟดยังแสดงความมุ่งมั่นที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ค่าเงินดอลลาร์จะยิ่งแข็งค่าขึ้นไปจนกว่าเงินเฟ้อจะเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ยังไม่มีใครตอบได้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงเมื่อใด และการลดลงนั้นชัดเจนหรือไม่ เมื่อช่วงเวลานั้นมาถึง ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐจึงอาจจะเริ่มปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจำเป็นต้องสังเกตผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากข้อมูลเศรษฐกิจ ที่มีต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ ก่อนหน้านี้ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 372,000 ต่ำแหน่ง ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ข้อมูลดังกล่าวช่วยคลายความกังวลของตลาดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยชั่วคราว แต่จะกลายเป็นการเพิ่มการคาดการณ์ว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม Goldman Sachs โต้แย้งว่าตลาดแรงงานจะต้องชะลอตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถัดไปที่นักลงทุนต้องจับตาคือข้อมูลยอดขายปลีกเดือนมิถุนายนในสัปดาห์นี้ เงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะยิ่งทำให้เฟดต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วกดดันเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต หากแนวโน้มขาลงในตลาดหุ้นยังคงดำเนินต่อไป หุ้นกลุ่มค้าปลีกจะได้รับกระทบมากที่สุด