คืนนี้จะมีการประกาศรายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนกรกฎาคมของประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และยูโรโซน ตัวเลขนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การหมุนเวียน และองค์ประกอบอื่นๆ ขององค์กรธุกิจ PMI ภาคการผลิตเป็นตัวบ่งชี้ของแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญ ตัวเลข 50 จุดเป็นจุดชี้วัดว่าการผลิตกำลังขยายตัวหรือหดตัว หากตัวเลขที่ออกมามากกว่าหมายถึงการขยายตัว หากน้อยกว่าหมายถึงการหดตัวทางเศรษฐกิจ
ข้อมูลที่จะเผยแพร่ในวันนี้มีความสำคัญและนักลงทุนควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ก่อนหน้านี้ ข้อมูลในเดือนมิถุนายนโดยรวมในยุโรป อเมริกา และเอเชีย ปรับตัวลดลง สะท้อนถึงความต้องการในภาคการผลิตทั่วโลก ข้อมูลตัวเลข PMI ในเดือนมิถุนายนทำให้ตลาดเกิดความกังวลขเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกอย่างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นและสกุลเงินของประเทศต่างๆ ในบทความนี้ เราจะพาไปแนวโน้มปัจจุบันของดัชนี PMI ทั่วโลกกันก่อน
สหรัฐอเมริกา
ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมไม่ให้กำลังซื้อของผู้บริโภคเสื่อมถอยจากเงินเฟ้อ ปัญหานี้ยังคงเป็นความท้าทายสำหรับเฟด ที่จะต่อสู้กับความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงของผู้ผลิต สมมติว่าอุปสงค์ที่ลดลงมีมากเกินไป คำสั่งซื้อใหม่จะลดลงอย่างมาก และส่งผลต่อการปลดพนักงานมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจถดถอย นี่เป็นปัญหาใหญ่ ที่เกิดจากเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเฟดกำลังพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อผ่านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยด้วย
ข้อมูล PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาลดลง สะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงเนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง รายงานตัวเลข PMI ในตอนนี้ค่อนข้างอยู่ใกล้กับ 50 จุด ในเดือนมิถุนายน PMI ของสหรัฐฯ ลดลงจาก 57.0 เป็น 52.7 จุด ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2020 ข้อมูลในรายละเอียดนั้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับยอดคำสั่งซื้อใหม่ลดลง และมีปัญหาในการหากลุ่มผู้ผลิตใหม่ ตัวเลข PMI ลดลงเกือบ 6 จุดจาก 49.2 ในเดือนพฤษภาคมสู่ระดับ 47.3 ในเดือนมิถุนายน การลดลง 2.3 จุดจากเดือนพฤษภาคม ถือเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2020
ความคาดหวังในปัจจุบันต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดจึงเกิดขึ้น การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และปัจจัยอื่นๆ ยังคงสนับสนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม สมมติว่าตัวเลข PMI ในเดือนกรกฎาคมไม่ดีขึ้น การหดตัวของ PMI สหรัฐฯ อาจฉุดแนวโน้ม GDP โดยรวมของสหรัฐฯ ลง ข้อมูล GDP ที่ลดลงจะสร้างความคาดหวังเชิงลบเกี่ยวต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยิ่งแข็งค่า ความเป็นไปได้นี้อาจส่งผลกระทบในทางลบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เพิ่งฟื้นตัวได้ไม่นาน
ยูโรโซน
สถานการณ์ในยูโรโซนนั้นย่ำแย่ยิ่งกว่าในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลตัวเลข PMI ภาคการผลิตสุดท้ายในเดือนมิถุนายนออกมาอยู่ที่ 52.1 จุด ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2020 และทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง อนาคตของยูโรโซนยังคงมืดมนและได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างสงครามรัสเซีย-ยูเครน ตลาดยุโรปต้องอยู่ภายใต้อัตราดอกเบี้ยติดลบมาเป็นเวลานาน อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันและก๊าซ วัตถุดิบ อาหาร และสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างแรงกดดันอย่างหนักต่อผู้บริโภคเนื่องจากค่าครองชีพและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
ในการประชุมอัตราดอกเบี้ยเมื่อวานนี้ ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น 50 จุด ซึ่งเกินความคาดหมายของตลาด การตัดสินใจดังกล่าวทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็นศูนย์ และอัตราดอกเบี้ยกลายเป็นติดลบ ทำให้เงินยูโรกลับมาแข็งค่าได้ชั่วคราว ถึงกระนั้น เราไม่สามารถเพิกเฉยต่อปฏิกิริยาของตลาดลงทุนที่มีทางเศรษฐกิจภายหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้พิจารณาประกอบกับหนี้ที่สูงขึ้นในยุโรปบางประเทศ
แนวโน้มเศรษฐกิจที่ซบเซา จำกัดความสามารถในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ ECB สามารถทำได้ หากข้อมูลตัวเลข PMI ของยูโรโซนออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ ค่าเงินยูโรจะฟื้นตัวจากความคาดหวังที่ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจไม่สามารถทำได้สะดวกมากนัก แต่หาก ECB ยังไม่คิดจะทำอะไรกับปัญหาเงินเฟ้อที่มี ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยูโรโซนจะเพิ่มสูงขึ้น จนการเสื่อมมูลค่าของสกุลเงินยูโรอย่างที่ไม่สามารถแก้ไขได้อาจเกิดขึ้นในอนาคต
เอเชีย
ข้อมูลตัวเลข PMI จากประเทศในฝั่งเอเชียยังคงซบเซา ค่า PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน ปรับตัวลดลงจาก 53.3 เป็น 52.7 จุด ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ในขณะเดียวกัน ค่า PMI ภาคการผลิตของเกาหลีใต้ในเดือนมิถุนายนก็ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 51.3 ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งต่ำกว่า 51.8 ในเดือนพฤษภาคมเล็กน้อย ส่วนตัวเลข PMI ของอินเดียในเดือนมิถุนายนนั้นลดลงมาอยู่ที่ 53.9 ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว
ข้อมูล CPI ล่าสุดที่เผยแพร่โดยประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของโลก เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป แสดงให้เห็นแล้วว่าเงินเฟ้อทั่วโลกตอนนี้ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะลดลงเลย นั่นจึงทำให้ความคาดหวังของตลาดลงทุนที่มีต่อธนาคารกลางยังคงเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น ธนาคารกลางยุโรปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 10 ปี เช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงไปแล้วสามครั้ง เพื่อรับมือกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมิถุนายน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงหลายครั้งทำให้หลายคนคาดหวังว่านโยบายของเฟดและธนาคารกลางยุโรปจะสามารถยับยั้งการขยายตัวของอุปสงค์ในอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อลดรงเสียดทานจากเงินเฟ้อ
ดังนั้น เราจึงคาดว่าข้อมูลตัวเลข PMI จากประเทศต่างๆ ในเดือนกรกฎาคม จะยังคงสามารถเติบโตได้ สมมติว่าข้อมูล PMI เดือนกรกฎาคมยังคงหดตัวลดลงและเข้าใกล้ระดับ 50 จุด หากเป็นเช่นนั้นจริง จะส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศ และอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อแนวโน้มตลาดหุ้นทั่วโลก เพราะความกังวลว่าอาจเกิดความกลัวการถดถอยอีกครั้ง ในสถานการณ์เช่นนั้น เงินลงทุนในต่างประเทศอาจไหลเข้าสู่ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ซึ่งจะสนับสนุนการแข็งค่าดอลลาร์สหรัฐต่อไปอีกระยะหนึ่ง หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ดีขึ้น ดอลลาร์สหรัฐอาจจะอ่อนค่าได้บ้าง การตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของ ECB และตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซน อาจจะทำให้คู่สกุลเงิน EURUSD พอจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้บ้าง