ราคาทองคำในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีการปรับอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกมากขึ้น
ราคาทองคำร่วงลงจาก 1,800 ดอลลาร์และกำลังเผชิญกับจุดตัดสินใจสำคัญหากปรับตัวลดลงล่าสุดต่ำกว่า 1,700 ดอลลาร์ ระดับราคานี้เคยเป็นแนวรับสำคัญให้กับทองคำมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2021 และนักลงทุนควรให้ความสำคัญกับระดับราคานี้ในฐานะแนวรับสำคัญที่ใกล้ราคาทองคำ ณ ปัจจุบันมากที่สุด
ฝั่งขาขึ้นสามารถสร้างราคาปิดทองคำให้ยังอยู่เหนือระดับ 1,700 ดอลลาร์ และสัปดาห์นี้จะมีความสำคัญต่่อทิศทางการวิ่งของราคาทองคำเป็นอย่างยิ่ง
นักลงทุนทองคำต่างต้องเกาหัวเพราะทองคำที่ตามตำราแล้วต้องปรับตัวขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนเพราะ ถูกมองว่าเป็นทรัพย์สินเก็บมูลค่า และยังสามารถใช้เป็นเครื่องป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อกลับปรับตัวลดลง เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ทำให้ทองคำมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง เงินดอลลาร์สามารถดึงดูดความสนใจของนักลงทุนเนื่องจากผลตอบแทนจากพันธบัตรที่มากขึ้น ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบ 20 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตและการจ้างงานของสหรัฐฯ เติบโตขึ้น
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 315,000 ตำแหน่ง เทียบกับคาดการณ์ 300,000 ตำแหน่ง ไม่สอดคล้องกับอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นที่ 3.7% เมื่อเทียบกับที่คาดไว้ 3.5% อย่างไรก็ตาม ตัวเลขทั้งสองอาจทำให้นักลงทุนเข้ามาถือครองดอลลาร์มากขึ้น นักวิเคราะห์บางคนคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 จุดในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนกันยายน หากอัตราเงินเฟ้อลดลง เงินดอลลาร์สหรัฐอาจอ่อนค่า และจะทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น
เสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐตกลงที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป นอกจากนี้ โลหะมีค่าอื่นๆ ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน แพลตตินั่มลดลง 2.4% และแพลเลเดียมลดลง 3.5% โลหะมีค่าเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและผลกระทบต่อภาคธุรกิจ
ตัวเลขการผลิตของภาคโรงงานในเอเชียยังคงลดลง เนื่องจากการล็อกดาวน์ตามนโยบายซีโร่โควิดของจีน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จีนได้ประกาศขยายเวลาล็อกดาวน์ในเขตต่างๆ ของเฉิงตู และจะขยายวงการทดสอบโควิดไปยังเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ