คืนนี้ธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) จะมีการประกาศการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนคาดว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดเบสิสเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี ในขณะที่บางคนเชื่อว่า ECB จะปรับขึ้น 50 จุดเบสิส และจะทำเช่นนี้อีกครั้งในเดือนกันยายน การจ่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้กำหนดนโยบายของ ECB ต้องเผชิญกับสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก พวกเขาต้องขึ้นดอกเบี้ยในขณะที่ต้องจัดการกับความเสี่ยงของภาวะถดถอยไปในเวลาเดียวกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบอะไรต่อตลาดยูโรปและสกุลเงินยูโรอย่างไร?
เหตุผลสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคือการควบคุมราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น ิซึ่งเกิดจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน Eurostat เปิดเผยข้อมูลเมื่อวันอังคารที่แสดงให้เห็นว่าตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ของยูโรโซนในเดือนมิถุนายนที่เพิ่มขึ้นเป็น 8.6% สอดคล้องกับราคาสินค้าที่่แพงขึ้น เมื่อเทียบกับตัวเลข 8.1% ในเดือนก่อนหน้า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนของยูโรโซนเพิ่มขึ้นคือราคาพลังงาน ซึ่งคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 42% YoY สูงกว่าราคาอาหาร แอลกอฮอล์ และยาสูบที่เพิ่มขึ้น 8.9%
ตัวเลข CPI ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ตลาดลงทุนคาดการณ์ว่าจะ ECB จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย การคาดการณ์นร่ผลักดันให้เงินยูโรเริ่มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในระยะสั้น กดดันให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลดลง แนวโน้มการฟื้นตัวของเงินยูโรอาจเป็นเช่นนี้ไปก่อนจนกว่า ECB จะประกาศการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริงๆ
ผลกระทบในด้านตรงข้ามของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นคือการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจในยูโรโซน หลายประเทศในยุโรปเผชิญกับการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เยอรมนีประสบปัญหาขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1991 ในปีนี้ การส่งออกเพิ่มขึ้น 11.7% เมื่อเทียบเป็นรายปีสู่ 125.8 พันล้านยูโร และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 27.8% เมื่อเทียบปีต่อปี คิดเป็น 126.7 พันล้านยูโร ส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าเกือบ 1 พันล้านยูโร นอกจากเยอรมนีแล้ว เหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันยังเกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี และประเทศอื่นๆ ในยุโรป เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) ยังคงจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ก็จะยิ่งทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินทั้งหลายในโซนยุโรป ECB จึงจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของ GDP ในยูโรโซน
ความกังวลที่ตลาดลงทุนมีหลักๆ คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ที่เสี่ยงจะเพิ่มโอกาสที่ยุโรปจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะยิ่งทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ECB ในอนาคตทำได้ยากขึ้น เป็นผลให้สหภาพยุโรปคาดว่าการเติบโตของ GDP ของยูโรโซนจะอยู่ที่ 2.6% ในปีนี้และ 1.4% ในปีหน้าซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.7% และ 2.3% ในเดือนพฤษภาคม
ท่ามกลางสถานการณ์ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแน่นอน อัตราแลกเปลี่ยน EURUSD ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ จุดหนึ่ง EURUSD เคยลงไปทำให้จุดต่ำสุดครั้งใหม่ในรอบ 20 ปี และทดสอบจุดต่ำสุดนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้จะฟื้นตัวแล้ว ตลาดลงทุนจะยังรอดูว่าเงินยูโรจะฟื้นตัวนานได้นานแค่ไหน เพราะเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันในยุโรป แนวโน้มค่าเงินยูโรยังคงไม่แน่นอนสูง ข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้เงินยูโรมีแนวโน้มเป็นขาลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น นักวิเคราะห์ของ Citigroup กล่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าความเสี่ยงของ “ความผันผวนที่ไม่แน่นอน” ทำให้สกุลเงินยูโรมีโอกาสสวิงอยู่ที่ 0.90 ถึง 0.95 เหรียญเพิ่มมากขึ้น
ในระยะสั้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยจะได้รับแรงหนุนจากความหวังของนักลงทุนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินยูโร จนทำให้ตลาดได้ค่อย ๆ เพิ่มความคาดหวังของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในยุโรป อัตราแลกเปลี่ยนของเงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ECB ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเงินยูโร นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นจะช่วยทำให้ค่าเงินยูโรแข็งค่า
ถึงกระนั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของยุโรปในระยะยาวอาจจะไม่ราบรื่น เมื่อตลาดค่อยๆ ลดความคาดหวังต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนจำเป็นต้องให้ความสนใจอกับผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ที่มีต่อข้อมูลทางเศรษฐกิจต่างๆ อย่างใกล้ชิด สมมติว่าผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำลายการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป คู่กราฟอาจกลับเข้าสู่แนวโน้มขาลงตามเทรนด์เดิม