บริษัทรถยนต์สัญชาติเยอรมันชื่อดังนาม “ฟ็อลคส์วาเกิน (Volkswagen (VOW))” หรือที่คนไทยคุ้นกับคำว่า “โฟล์คสวาเก้น” อาจต้องพบกับความไม่แน่นอนในปีนี้หลังจากที่เห็นยอดขายรถของบริษัทตัวเองในประเทศจีนลดลง
กราฟหุ้น VOW รายสัปดาห์
ราคาหุ้น VOW กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบราคาขาลง แต่มีโอกาสที่ราคาจะขึ้นทะลุ 130 เพื่อทดสอบแนวต้านอีกครั้ง
กำไรของบริษัทฟ็อลคส์วาเกินลดลง 30% ในช่วง 3 เดือนแรกของปี แม้ว่าจะมีผลประกอบการแข็งแกร่งในยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่ยอดขายในจีนที่ชะลอตัวส่งผลกระทบต่อการเงินของบริษัท
บริษัทฟ็อลคส์วาเกินกล่าวว่ากำไรหลังหักภาษีลดลงเหลือ 4.7 พันล้านยูโร (5.2 พันล้านดอลลาร์) จาก 6.7 พันล้านยูโรในช่วงไตรมาสแรกของปีที่แล้ว จำนวนรถยนต์ที่ขายโดยบริษัทก็เพิ่มขึ้น 7.5% เป็น 2.04 ล้านคัน รายรับเพิ่มขึ้น 21.5% เป็น 76.2 พันล้านยูโร เนื่องจาก VW เห็นความต้องการที่แข็งแกร่งและอำนาจการกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้น ตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าผู้ซื้อชาวจีนมียังคงต้องใช้การจูงใจให้มาซื้อสินค้าของบริษัทมากขึ้น แม้ว่าจะมีอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปก็ตาม
ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของเทสลาเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระทบฟ็อลคส์วาเกิน บริษัทเยอรมันรายนี้ขายรถยนต์ในจีนได้น้อยลง 14.5% โดยมีคู่แข่งในประเทศเช่น BYD คว้าส่วนแบ่งการตลาดที่แข็งแกร่งเอาไว้ได้ อนึ่ง BYD Auto นำหน้า Tesla เป็นครั้งแรกในปี 2022 ด้วยยอดขาย 1.9 ล้านคัน
ฟ็อลคส์วาเกินกล่าวว่า “มั่นใจ” ว่ารถรุ่นต่างๆ และเทคโนโลยีเฉพาะจะทำให้ยอดการส่งมอบ “ฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี” บริษัทกล่าวว่ามีแผนจะลงทุน 1 พันล้านยูโรในศูนย์กลางนวัตกรรมในเมืองเหอเฟยของจีน VW กล่าวว่ากำลังก้าวไปข้างหน้าด้วยการเติบโตของ EV พวกเขาขายรถยนต์แบตเตอรี่ 141,000 คันคิดเป็น 7% ของการส่งมอบทั้งหมดในระหว่างไตรมาส
มีแรงกดดันต่อโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป (VOW) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ข้อมูลในการประชุมนักลงทุนประจำปีของบริษัทพบว่ามีปัญหาเพิ่มเติม มีนักเคลื่อนไหวประท้วงบริษัทที่โรงงานในซินเจียง นักลงทุนยังวิพากษ์วิจารณ์บทบาทสองอย่างของ CEO Oliver Blume ในฐานะหัวหน้าทั้ง Volkswagen และ Porsche
โรงงานในซินเจียงของบริษัทซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับ SAIC Motor ตกเป็นเป้าหมายของนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและผู้ถือหุ้นรายใหญ่บางรายอย่างเช่นDeka Investment และ Union Investment ทั้งคู่เรียกร้องให้ผู้ผลิตรถยนต์ดำเนินการตรวจสอบภายนอกอย่างเป็นอิสระของโรงงานในซินเจียง ซึ่งกลุ่มสิทธิมนุษยชนได้มีบันทึกการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงค่ายกักกันจำนวนมาก ซึ่งจีนปฏิเสธ
Ingo Speich หัวหน้าฝ่ายกำกับดูแลกิจการของ Deka กล่าวว่า “ฟ็อลคส์วาเกินต้องมั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานของตนไม่ได้มาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน”
นักลงทุนยังหันมาสนใจบริษัทฟ็อลคส์วาเกินเนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดในจีนที่ชะลอตัวลง พวกเขาตั้งคำถามว่าบริษัทจะปกป้องสถานะทางการตลาดของตัวเองได้อย่างไร