เงินปอนด์ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาได้รับแรงกดดันอย่างมากจากการแข็งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ GBPUSD เมื่อต้นสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 1.1 มีราคาซื้อขายต่ำสุดที่ 1.0954 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นอย่างไม่ลดละ วิกฤตการณ์ตลาดตราสารหนี้ของอังกฤษที่ยังคงแพร่กระจายออกไป ผลกระทบของปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อและภาวะถดถอยในสหราชอาณาจักร ส่งผลให้เงินปอนด์ร่วงลงอย่างหนัก สถานการณ์เลวร้ายเหล่านี้ทำให้ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษต้องออกมาบอกใบ้เป็นนัยกับสาธารณะชนว่าอาจขยายเวลาแผนการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาในตลาด แม้ดูเหมือนว่าความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยงของตลาดลงทุนจะฟื้นตัวกลับมา แต่ภาพรวมในอนาคตของเงินปอนด์ยังคงเป็นสิ่งที่น่ากังวล
มาตรการช่วยเหลือจากธนาคารกลางอังกฤษที่สิ้นสุดลงในเดือนกันยายน
หลังจากที่สหราชอาณาจักรประกาศแผนลดหย่อนภาษีมากที่สุดในรอบ 50 ปี ก็ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับกองทุนบำเหน็จของอังกฤษ การขายพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษระยะยาว และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BoE) ต้องเริ่มเข้ามาซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด การตัดสินใจดังกล่าวยังทำให้เงินปอนด์ฟื้นตัวในช่วงเวลาสั้นๆ ในช่วงปลายเดือนกันยายนและต้นเดือนตุลาคม
อย่างไรก็ตาม ความวุ่นวายในตลาดตราสารหนี้ของอังกฤษยังคงดำเนินต่อไป ตลาดหุ้นของอังกฤษต้องเจอกับการเทขายอย่างรุนแรงในวันที่ 10 ตุลาคม ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษจึงออกมาตรการใหม่ทันทีภายในวันเดียวกันนั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มวงเงินสำหรับการซื้อพันธบัตร ซึ่งรวมถึงพันธบัตรรัฐบาลที่เชื่อมโยงกับเงินเฟ้อในอุตสาหกรรมการลงทุน
เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทำให้ตลาดพันธบัตรต้องล่มสลาย นายแอนดรูว์ ไบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ต้องออกมากล่าวว่าโครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินของ BoE จะสิ้นสุดตามแผนที่วางไว้ในวันที่ 14 ตุลาคม แม้ว่าจะมีการขยายระยะเวลาของแผนการซื้อพันธบัตร แต่การตัดสินใจของนายแอนดรูว์ก็ทำให้เงินปอนด์ร่วงอีกครั้ง
ในอนาคตอันใกล้ ยังมีโอกาสที่เงินปอนด์จะต้องเผชิญกับข่าวร้ายมากมายอีกในอนาคต เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย การเทขายในตลาดหุ้นอีกครั้ง และปัญหาเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่สูงเป็นประวัติการณ์ ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน แผนการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษยังไม่สามารถเปลี่ยนความกังวลของตลาดที่มีต่อตลาดหุ้นของประเทศได้ เพราะแผนการดำเนินงานของรัฐบาลที่ดูไม่น่าเชื่อถือได้ทำให้ตลาดขาดความเชื่อมั่น สมมติว่าข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรยังไม่ดีขึ้น ตลาดหุ้นของสหราชอาณาจักรจะยังคงเป็นของตลาดหมีต่อไป และค่าเงินปอนด์ก็ไม่อาจกลับมาแข็งค่าได้โดยง่าย
การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่องยังคงกดดันสกุลเงินปอนด์
ปอนด์ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก ตลอดทั้งปี 2022 ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างมากเพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และความเสี่ยงที่พบในตลาดหุ้นของสหราชอาณาจักรตามที่กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหราชอาณาจักร
เงินดอลลาร์สหรัฐได้ประโยชน์จากการถูกเลือกให้เป็นสกุลเงินสำรองที่ปลอดภัย และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ในขณะที่เงินปอนด์กลับต้องรับแรงกดดันจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และความวุ่นวายของการเมืองภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ทิศทางในอนาคตของค่าเงินดอลลาร์ยังคงขึ้นอยู่กับการประชุมปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน
ในรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำเดือนกันยายน ที่ออกโดยธนาคารกลางสหรัฐฯในสัปดาห์นี้ระบุว่าเฟดจำเป็นต้องทำพิจารณานโยบายการเงินที่มีความตึงตัวให้ละเอียดว่ามีส่วนไหนสามารถผ่อนปรนได้หรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ กำลังเผชิญอยู่ ตลาดเชื่อว่ารายงานการประชุมนี้ส่งสัญญาณว่าเฟดกำลังเริ่มพิจารณาผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังคงยกให้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ
ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ล่าสุดในเดือนกันยายนของสหรัฐฯ ออกมาอยู่ที่ 8.2% YoY เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ 8.1% และตัวเลขในเดือนสิงหาคม 8.3% ข้อมูลนี้บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อของอเมริกายังคงอยู่ในระดับสูง ดังนั้น ความคาดหวังของตลาดที่มีต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อของเฟดจึงยังคงเหมือนเดิม ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันอีกครั้งต่อค่าเงินปอนด์ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือนักลงทุนต้องจับตาปฏิกิริยาของรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่จะสร้างผลกระทบต่อตลาดหุ้นของประเทศ หลังจากการระงับโครงการซื้อพันธบัตร เงินปอนด์อาจอ่อนค่าลง และสร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงในตลาดที่ยังคงมีนัยสำคัญกำลังมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจยังคงเป็นตัวกระตุ้นความผันผวนของเงินปอนด์ต่อไป