หนึ่งในไฮไลท์ประจำการลงทุนสัปดาห์นี้คงจะหนีไม่พ้นรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ประจำเดือนมิถุนายน ซึ่งจะรายงานออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรในคืนนี้ เมื่อพิจารณาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 จุดเบสิสในช่วงกลางเดือนมิถุนายน รายงานการประชุมฯ ของเฟดมีแนวโน้มจะกดดันตลาดทุน นักวิเคราะห์คาดว่าเฟดจะยังคงเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่นักวิเคราะห์ให้ความสนใจว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากรายงานการประชุม FOMC ในเดือนกรกฎาคมหรือไม่ หลายสำนักกำลังประเมินความเป็นไปได้ของรายงานการประชุมฯ ว่าจะส่งผลกระทบต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดแนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและตลาดหุ้นต่อไปในอนาคต
หากนับตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบัน เฟดได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้วทั้งหมด 150 จุดเบสิส สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมากว่าอาจเป็นฉนวนนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตาม ถ้อยแถลงล่าสุดของเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้เปลี่ยนความตั้งใจที่จะรับมือกับภาวะเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เขากล่าวว่าแม้ว่ากระบวนการนี้จะ “ต้องมีคนได้รับผลกระทบ” มากขึ้น แต่เขาก็จะยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
ในอดีต เจอโรม พาวเวลล์ ชี้ให้เห็นว่าเขากังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะไม่สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ครั้งนี้ได้มากขึ้น ความกังวลหลักของเขาไม่ใช่ความเป็นไปได้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปและทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ เขาให้เหตุผลว่าเฟดต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว แม้ว่าการทำเช่นนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยในสหรัฐอเมริกาก็ตาม พาวเวลล์เชื่อว่าการกระทำของเฟดจะช่วยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่รุนแรงมากขึ้ นจากอัตราเงินเฟ้อที่เติบโต เขากล่าวว่าเฟดไม่มีเวลาสำหรับการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากคภาวะเงินเฟ้อที่สูงในปัจจุบันอาจทำให้ผู้บริโภคและผู้กำหนดราคาเชื่อว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้น และทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวแรงขึ้น
คำพูดของพาวเวลล์แสดงให้เห็นว่าจุดยืนนโยบายการเงินของเฟดยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงจุดยืนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต คำพูดของเขายังคงสะท้อนถึงความปรารถนาของเฟดในการสร้างสมดุลเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย และควบคุมอัตราเงินเฟ้ออย่างมีประสิทธิภาพ อ้างอิงจากเครื่องมือ “FedWatch” ของ CME ตลาดเชื่อว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนกรกฎาคม มากถึง 85.6% ในขณะที่ความน่าจะเป็นของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดเบสิสอยู่ที่ 14.4% .
ความเห็นเหล่านี้ยังคงสนับสนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐในระยะสั้นของ ตอนนี้สิ่งที่ตลาดกำลังรออยู่คือข้อมูลตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ ที่จะเผยแพร่ในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งมาตรวัดเงินเฟ้อของธนาคารกลาง นักวิเคราะห์ต้องการใช้ CPI เพื่อตัดสินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจล่าสุด หลายคนกำลังรอดูว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจะส่งผลกระทบต่อสถานะของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐหรือไม่
ในฝั่งยุโรป ECB ได้ประกาศเแผนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม โดยคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นหลังเดือนกันยายน ECB ไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ค่าเงินยูโรเริ่มแข็งค่าขึ้น ค่าเงินยูโรที่แข็งค่าจะทำให้มีการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลง
กราฟด้านบนแสดงให้เห็นแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อ้างอิงข้อมูลคำนวณดัชนีค่าเงินดอลลาร์ของ Wall Street Journal ภาพรวมแล้วยังเป็นแนวโน้มขาขึ้น ในขณะที่ดัชนีซึ่งคำนวณมูลค่าดอลลาร์สหรัฐเทียบกับ 16 สกุลเงินในปีนี้ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% นับเป็นการแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ช่วงเดียวกันในปี 2010 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ในครึ่งปีหลังอาจไม่ได้เป็นเหมือนในช่วงครึ่งปีแรก เพราะธนาคารกลางในประเทศต่างๆ จะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู้ ยกเว้นเสียแต่มีแรงกดดันต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่ม เงินดอลลาร์ก็จะเป็นหลุมหลบภัยเหมือนเดิม ซึ่งอาจช่วยให้สามารถกลับมาแข็งค่าต่อได้
ภาพรวมของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในตอนนี้ยังไม่ดีมากนัก นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ และประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ราคาสอนค้าที่ยังคงมีราคาแพงจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ สั่นคลอน หากรายงานการประชุมของเฟดประจำเดือนมิถุนายนยังคงเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามความจำเป็น ข่าวนี้จะไม่เป็นผลดีต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ท่าทีที่แข็งกร้าวอาจผลักดันให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และกดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อไป