หุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นในวันจันทร์เป็นวันที่ 4 เนื่องจากนักลงทุนเดิมพันเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และยุโรปว่าอาจจะเกิดขึ้นเร็ว สาเหตุที่นักลงทุนเชื่อเช่นนั้นเพราะรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่มีจำนวนลดลง ตัวเลขการผลิตที่เพิ่มขึ้นบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานกำลังชะลอตัวลงมากพอที่จะหักล้างความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มของธนาคารกลางสหรัฐฯ
ตลาดพันธบัตรผันผวน ซึ่งถือเป็นการบอกเป็นนัยว่ามีโอกาส 90% ที่เฟดจะจบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว และมีโอกาส 86% ที่การผ่อนคลายนโยบายการเงินครั้งแรกจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน นักลงทุนในตลาดยังเชื่อว่ามีความน่าจะเป็นประมาณ 80% ที่ธนาคารกลางยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในเดือนเมษายน ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางแห่งอังกฤษคาดว่าจะผ่อนคลายนโยบายการเงินในเดือนสิงหาคม
บอร์ดของธนาคารกลางฯ อาจจะพิจารณาแนวโน้มเชิงบวกเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นจริงหรือไม่นั้นนักลงทุนต้องสังเกตจากสมาชิกเฟดอย่างน้อยเก้าคนพูดที่จะมีคิวให้สัมพาษณ์กับสื่อต่างๆ ในสัปดาห์นี้ยกตัวอย่างเช่นประธานเจอโรม พาวเวลล์ นอกจากนี้ ยังมีการแสดงความเห็นจากธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น, BoE และ ECB อีกด้วย
การตัดสินใจที่อาจจะไม่เหมือนกันธนาคารกลางอื่นๆ คือธนาคารกลางของออสเตรเลีย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะกลับมาขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมนโยบายในวันอังคาร สาเหตุนั้นเป็นเพราะอัตราเงินเฟ้อของประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างไม่ยอมลง
สำหรับสถานการณ์ในที่อื่นๆ นั้น ความหวังว่าต้นทุนการกู้ยืมจะลดลงช่วยให้ดัชนีหุ้นเอเชียแปซิฟิกที่ดของ MSCI ในภาพรวมนอกญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.5% หลังจากเพิ่มขึ้นแล้ว 2.8% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และอยู่ห่างจากจุดต่ำสุดในรอบปี Nikkei ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.8% หลังจากกระโดด 3.1% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ฟิวเจอร์ส S&P 500 และฟิวเจอร์ส Nasdaq ทรงตัว
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงทำให้ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงในทันทีมาอยู่ใกล้ 105.110 โดย DXY ได้ร่วงลง 1.3% ในสัปดาห์ที่แล้วสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน EURUSD ทรงตัวที่ 1.0728 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1% ในวันศุกร์ มุ่งหน้าสู่ระดับสูงสุดในรอบสองเดือน ค่าเงินดอลลาร์ยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่แม้จะยังอ่อนค่าอยู่เช่นกัน USDJPY เคลื่อนไหวอยู่ที่ 149.46 และขยับขึ้นมาจากจุดสูงสุดล่าสุดที่ 151.74
การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนสหรัฐฯ ช่วยหนุนทองคำที่ระดับราคา 1,990 ดอลลาร์ ซึ่งอยู่ในระยะที่ใกล้จุดสูงสุดในรอบ 5 เดือนล่าสุดที่ 2,009 ดอลลาร์ ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นหลังจากร่วงลง 6% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพราะได้รับข่าวสนับสนุนจากการยืนยันว่าซาอุดิอาระเบียและรัสเซียจะดำเนินการลดกำลังการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจเพิ่มเติมต่อไป
สถานการณ์ในตะวันออกกลางเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมานั้น อิสราเอลปฏิเสธเสียงเรียกร้องมากขึ้นให้หยุดยิงในฉนวนกาซา โดยผู้เชี่ยวชาญทางทหารกล่าวว่ากองกำลังเตรียมพร้อมที่จะเพิ่มความเข้มข้นในการปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มอิสลามิสต์ปาเลสไตน์ กลุ่มฮามาส ราคาน้ำมันดิบเบรนต์เพิ่มขึ้น 32 เซนต์ ทำราคาปิดที่ 85.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 46 เซนต์ ทำราคาปิดที่ 80.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล