เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ค่าเงินยูโรร่วงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 20 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ และและยังสามาาถวิ่งลงไปถึงจุดต่ำสุดในรอบกว่าสองทศวรรษเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2022 ขาลงทั้งสองครั้งของสกุลเงินยูโรเกิดขึ้นจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ และความท้าทายทางเศรษฐกิจมากมายที่ยูโรโซนกำลังเผชิญอยู่ ตามรายงานการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ล่าสุด ไม่ได้บอกว่าพวกเขาจะทำนโยบายการเงินแบบตึงตัวหรือผ่อนคลายชัดเจน ตลาดยังคงคาดว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ในการประชุมครั้งถัดไป ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นำร่องด้วยการประกาศสู้กับเงินเฟ้ออย่างซึ่งหน้า ทำนโยบายการเงินตึงตัวโดยไม่สนว่าใครจะได้รับผลกระทบบ้าง ทำให้นักลงทุนคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ในการประชุมเดือนกันยายน
ในวันอังคารนี้ ยูโรโซนจะมีรายงาน CPI เดือนสิงหาคมเบื้องต้นของเยอรมนี รายงานเงินเฟ้อของยูโรโซนในวันพุธ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของยูโรในวันศุกร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปของ ECB ในเดือนกันยายน
นักวิเคราะห์คาดว่าข้อมูลในเดือนกรกฎาคมอาจจะได้เห็น CPI ของเยอรมนีเพิ่มขึ้น 8.5% YoYเหนือตัวเลขคาดการณ์ 8.1% และตัวเลขก่อนหน้า 8.3% ข้อมูลเดือนกรกฎาคมจะแสดงให้เห็นว่าตัวเลขของเดือนมิถุนายนเป็นเพียงการปรับตัวลดลชั่วคราว แสดงความจริงที่ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อใน “หัวรถจักรเศรษฐกิจยุโรป” ไม่ได้ผ่อนคลายลง ดังนั้นตลาดคาดว่าธนาคารกลางยุโรปจะไม่มีทางเลือกนอกจากต้องทำนโยบายการเงินแบบตึงตัวต่อไป
ยูโรโซน
แม้ข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ว่าเกิดการชะลอตัวลงจากจุดสูงสุดในรอบทศวรรษ แต่ความจริงก็คือเงินเฟ้อในยูโรโซนยังไม่ถึงจุดสูงสุด ในฤดูหนาวที่จะมาถึง ความต้องการพลังงานจะพุ่งสูงขึ้นท่ามกลางซัพพลายก๊าซและน้ำมันดิบที่มีอยู่อย่างจำกัด การที่สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าพลังงานจากรัสเซียทั้งหมดคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนธันวาคม แต่การกระทำเพื่อมนุษยธรรมเช่นนั้นกลับทำให้ภูมิภาคนี้ต้องดิ้นรนเพื่อหาซัพพลายพลังงานรายอื่น เป้าหมายของสหภาพยุโรปคือการทำให้แน่ใจว่ายุโรปจะหยุดนำเข้าน้ำมันและก๊าซของรัสเซียภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นงานยาก ไม่ว่าเป้าหมายนี้จะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม สถานการณ์การจัดหาพลังงานที่ทำได้ยากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับความต้องการพลังงานมากขึ้นเนื่องจากปัจจัยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมส่งผลให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้น
สมมติว่าข้อมูลตัวเลขเงินเฟ้อในยูโรโซนลดลงตามที่คาดไว้ ในกรณีดังกล่าว ธนาคารกลางยุโรปอาจจะกล้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น เพื่อลดเงินเฟ้อลงมา แต่ตราบใดที่นักลงทุนยังให้ความสนใจกับรายงานอัตราเงินเฟ้อ ข้อมูลตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐอเมริกาก็เป็นจุดสนใจหลักในสัปดาห์นี้เช่นกัน ตลาดจะใช้ตัวเลขเหล่านี้ประเมินว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนเท่าใด หากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งพอที่จะสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ในเดือนกันยายน เราจะเห็นค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่สำหรับยุโรปนั้น ปัญหาเงินเฟ้อและราคาพลังงานที่ขึ้นอยู่กับเกมการเมืองไม่เอื้อกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป ซึ่งหมายความว่าเงินยูโรจะยังคงอ่อนค่าต่อไป ตราบใดที่ ECB ยังไม่กล้าเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเต็มกำลัง
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค EUR/USD ยังคงวิ่งอยู่ที่ 1.0 ตราบใดที่ราคายังไม่สามารถขึ้นยืนระดับราคานี้ได้อย่างมั่นคง แนวโน้มของกราฟก็จะยากต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเราจึงอาจได้เห็นการลงลดทอบ 0.99 หรือ 0.98 อีกครั้ง เว้นแต่เงินดอลลาร์สหรัฐจะไม่สามารถผ่านแนวต้าน ขึ้นยืนเหนือระดับ 109 ซึ่งอาจทำให้ EURUSD กลับมาวิ่งอยู่ที่ 1.0 ก่อนที่จะค่อยๆ ปรับตัวขึ้นต่อไปที่ 1.0235 ซึ่งเป็นจุดตัดของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50วันและตัวเลขแนวต้านจาก Fibonacci