แม้ว่าเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะมีความผันผวนเป็นอย่างมาก แต่ท้ายที่สุดแล้วดัชนีชื่อดังของสหรัฐฯ ก็ยังสามารถวงกลับขึ้นมาปิดบวกเหนือระดับ 30000 จุดได้สำเร็จ ถึงความเป็นจริงนั้นเราจะทราบว่าตัวเลขเงินเฟ้อของอเมริกานั้นออกมาแย่มากกว่าเดือนก่อนหน้านั้นอีก
กราฟ US30 รายสัปดาห์
จุดต่ำสุดก่อนหน้านี้ที่ดัชนีดาวโจนส์เคยลงไปทำได้อยู่ในเดือนมิถุนายนที่ระดับ 29,650 จุด และมีโอกาสที่จะเป็นเช่นนั้นก่อนการดีดตัวกลับขึ้นมาในช่วงต้นเดือนตุลาคม
ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายนออกมาอยู่ที่ 8.2% YoY ลดลงจาก 8.3% ในเดือนสิงหาคมเพียงเล็กน้อย นี่คืออีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป
แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดลงมา แต่ข้อมูลเงินเฟ้อนี้ก็ยังสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ทั้งๆ ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงมาโดยตลอดก็ตาม ตัวเลขเงินเฟ้อในปัจจุบันยังคงสูงกว่ากรอบราคาเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของธนาคารกลาง ดังนั้นเฟดจะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป
Neil Birrell, CIO ของ Premier Miton Investors ให้ความเห็นว่า
“เฟดจำเป็นต้องตอบโต้กับสถานการณ์เงินเฟ้อในการประชุมครั้งต่อไป และเชื่อว่าพวกเขาจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดไปจนกว่าจะมีสัญญาณว่าเงินเฟ้อได้อยู่ภายใต้การควบคุมแล้ว ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคครั้งนี้ทำให้เกิดความไม่แน่นอน ถือเป็นข่าวร้ายสำหรับเศรษฐกิจและผู้บริโภค จุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยจะในขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าจะหยุดอยู่ที่ใด สำหรับเศรษฐกิจหรือตลาดลงทุนในตอนนี้ เป็นการยากที่จะหาข้อดีใดๆ มาสนับสนุน”
ก่อนหน้านี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคได้ร่วงลงจากจุดสูงสุดในเดือนมิถุนายนที่ 9.1% โดยได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ลดลง ถึงกระนั้นราคาสินค้าทั่วไปและค่ารักษาพยาบาลก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานก็เพิ่มขึ้นมาอย๔่ที่ 6.6% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982
วันศุกร์นี้จะมีการรายงานตัวเลขยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ซึ่งตัวเลขที่ดีเกินคาดสามารถทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อจากเมื่อวานนี้ได้ นักลงทุนยังคงคาดหวังจะได้เห็นจุดสูงสุดที่เป็นไปได้ของอัตราเงินเฟ้อ และจะมองจุดตลาดที่ดี จากระดับราคาบริเวณนี้ คาดว่าตัวเลขยอดค้าปลีกจะลดลงจาก 0.3% เป็น 0.2% เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
หลังจากถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในต่างประเทศ นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวว่าสหรัฐฯ “ใส่ใจ” ต่อความกังวลจากธนาคารกลางฯ ทั่วโลก แต่ปัญหาภายในประเทศจะยังคงเป็นตัวชี้นำการวางนโยบายเศรษฐกิจ
“เส้นทางในอนาคตข้างหน้าของเราเริ่มต้นด้วยการสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดแรงงานภายในประเทศ” เธอกล่าว “สำหรับสหรัฐอเมริกา ลำดับความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงสุดของเราคือการลดอัตราเงินเฟ้อในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งเอาไว้ให้ได้ด้วย”
จิม ชาลเมอร์ส รมต.คลังของออสเตรเลียเตือนเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ว่ามีความเสี่ยงที่โลกจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ “รุนแรงและแข็งกร้าว” สิ่งนี้ต้นทุนการกู้ยืมทั่วโลกเพิ่มขึ้น