เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกได้มีรายงานเปิดเผยข้อมูลตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในเดือนสิงหาคม ยกตัวอย่างเช่นการรายงานตัวเลขดัชนี PMI คอมโพสิตเบื้องต้นจาก Markit ในสหรัฐอเมริกา PMI ในภาคการผลิตและบริการของสหราชอาณาจักร และตัวเลข PMI ภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซนในเดือนสิงหาคม รายงานดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการผลิตและบริการทั่วโลก และความสามารถทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ตัวเลข PMI ที่ออกมาจะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจภาพรวมเศรษฐกิจมหภาค นักลงทุนยังสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อประเมินผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในแต่ละประเทศ และคาดการณ์ว่าธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อหรือชะลอการขึ้นดอกหรือไม่
สหรัฐอเมริกา
วันนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีรายงานตัวเลขเบื้องต้นของดัชนี PMI ภาคการผลิตอละบริการจาก Markit ในเดือนสิงหาคม นักวิเคราะห์เชื่อว่าตัวเลข PMI นั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 50.2 เทียบจากตัวเลขก่อนหน้านี้ที่ 47.3 ในภาพรวมแล้วตลาดเชื่อว่าภาคการผลิตของสหรัฐฯ จะยังคงหดตัวลดลงในขณะที่ภาคบริการค่อยๆ ฟื้นตัว แต่หากตัวเลขในภาคบริการออกมาน้อยกว่าที่คาดการณ์ อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูล PMI คอมโพสิตเบื้องต้น
เมื่อพิจารณาจากตัวเลข PMI จาก Markit ในเดือนกรกฎาคม จะพบว่าตัวเลขในภาคบริการเคยลงแตะจุดต่ำสุดใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2020 ซึ่งเราสามารถตีความจากข้อมูลดังกล่าวได้ว่า ในไตรมาสที่ 3 หรือเดือนกรกฎาคม เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะหดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สาม แม้ว่าว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อาจถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่เพราะยังไม่มีข้อมูลตัวเลขอื่นมาสนับสนุนจุดสูงสุดของเงินเฟ้อ ดังนั้นข้อมูลเดือนสิงหาคมจึงมีความสำคัญ
สมมติว่าตัวเลขในภาคบริการปรับตัวขึ้นตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ กรณีแบบนั้นจะสะท้อนถึงภาวะเงินเฟ้อที่ลดลง เนื่องจากการใช้จ่ายของครัวเรือนเปลี่ยนจากการใช้จ่ายเพื่อความจำเป็นเป็นภาคบริการมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ข้อมูล PMI ของสหรัฐฯ อาจสะท้อนให้เห็นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในสหรัฐฯ ยังสามารถทำได้ เมื่อเทียบกับสหราชอาณาจักรและยูโรโซนที่อัตราเงินเฟ้ออยู่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในภาคการผลิตที่ต่ำกว่าปกติอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลต่อความสามารถทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อมูลค่าของค่าเงินดอลลาร์ นักลงทุนยังต้องให้ความสำคัญกับตัวเลขคำสั่งซื้อใหม่และการอัปเดตสินค้าคงคลังเพื่อวัดว่าปัญหาห่วงโซ่อุปทานกำลังแย่ลงหรือไม่
สหราชอาณาจักร
ข้อมูล PMI ของสหราชอาณาจักรสะท้อนถึงสถานะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของสหราชอาณาจักร ซึ่งข้อมูลตัวเลข PMI ล่าสุดของสหราชอาณาจักรในเดือนสิงหาคมนั้นไม่สวยงามเท่าไหร่นัก ตัวเลขในเดือนก่อนหน้านี้คือ 52.1 ในขณะที่ตัวเลขของเดือนสิงหาคมคือ 50.9 PMI ภาคการผลิตของประเทศลดลงอย่างรวดเร็วเป็น 52.1 จากตัวเลขก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้เงินปอนด์อ่อนค่า
ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BoE) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหกครั้งนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 ทำให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่ และทำให้เกิดความกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตของเงินปอนด์ ธนาคารกลางอังกฤษคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะแตะระดับ 13% ภายในสิ้นปีนี้ BoE ยังเตือนด้วยว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาสที่สี่ของปีนี้ ไปจนถึงปีหน้าเนื่องจากต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตของประเทศ ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นคือ BoE ไม่มีเหลือที่ว่างมากนักสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อกดเงินเฟ้อ
สหภาพยุโรป
ตัวเลข PMI คอมโพสิตเบื้องต้นของยูโรโซนในเดือนสิงหาคมมีตัวเลขอยู่ที่ 49.2 จุด เทียบกับตัวเลขก่อนหน้า 49.9 แม้ว่าจะสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 49 เล็กน้อย แต่ก็ต่ำกว่าตัวเลขก่อนหน้านั้น ในเดือนกรกฎาคม ธนาคารกลางยุโรปประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดเบสิส นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2011 และเป็นจุดสิ้นสุดยุคอัตราดอกเบี้ยติดลบแปดปี ดังนั้นข้อมูล PMI จึงสะท้อนผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่มีต่อเศรษฐกิจยูโรโซน การที่ข้อมูลปตัวเลข PMI ยังต่ำกว่า 50 หมายความว่าเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป และทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลง นอกจากนี้ เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของสหราชอาณาจักรและยุโรปอาจทำให้ความกังวลของตลาดเกี่ยวกับภาวะถดถอยในระบบเศรษฐกิจหลักของโลกแย่ลงไปอีก เป็นผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ
ญี่ปุ่น
ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานในญี่ปุ่น ส่งผลกระทบต่อการผลิตของประเทศ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมบริการที่ชะลอตัวลงในเดือนกรกฎาคม เมื่อเทียบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยิ่งเป็นไปได้ยาก ญี่ปุ่นยังคงนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณที่มีมายาวนานและสัญญาว่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ตัวเลข PMI ของญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคมที่ลดลงสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อในระดับสูง ที่มีต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งอยู่เหนือกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาสามเดือนติดต่อกัน เป็นผลให้ตัวเลข PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นของญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคมลดลงอย่างต่อเนื่อง ข้อมูล PMI ล่าสุดอยู่ที่ 51 ต่ำกว่าตัวเลขก่อนหน้านี้ที่ 52.1 เป็นผลให้เงินเยนยังอ่อนค่า และมีโอกาสลงแตะจุดต่ำสุดใหม่