สัปดาห์นี้นักลงทุนจะให้ความสนใจกับการลงทุนในยุโรปเป็นพิเศษเพราะจะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกืจสำคัญของเยอรมันจาก IFO และถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) นางคริสตีน ลาการ์ด
กราฟ EURUSD รายสัปดาห์
กราฟรายสัปดาห์ของ EURUSD แสดงให้เห็นระดับแนวรับแนวต้านที่ 1.1033 และ 1.0520
รายงานตัวเลขความเชื่อมั่นทางธุรกิจจาก IFO ของเยอรมันคาดว่าจะลดลงเป็น 90.7 หลังจากดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในเดือนตุลาคมที่ 85 สร้างจุดสูงสุดในเดือนเมษายน การต่อสู้ทางเศรษฐกิจของเยอรมนียังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักวิเคราะห์
ถ้อยแถลงของประธาน ECB จะส่งผลต่อเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ธนาคารกลาง ECB ยังคงต้องการทำโยบายการเงินตึงตัวต่อไป และเมื่อเร็วๆ นี้ ECB ขอให้รัฐบาลในภูมิภาคชะลอการสนับสนุนราคาพลังงาน
“ในขณะที่วิกฤตพลังงานมีความรุนแรงน้อยลง สิ่งสำคัญคือต้องเริ่มนำมาตรการเหล่าสนับสนุนราคาพลังงานกลับมาทันทีเพื่อให้สอดคล้องกับการลดลงของราคาพลังงานในลักษณะที่สอดคล้องกัน” ลาการ์ดกล่าว เธอเสริมว่ามาตรการทางการคลังเพื่อสนับสนุนผู้บริโภคเมื่อราคาพลังงานต่ำลง “มีแนวโน้มที่จะผลักดันแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระยะปานกลาง ซึ่งจะทำให้มีการตอบสนองนโยบายการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น”
Carsten Brzeski นักเศรษฐศาสตร์จาก ING กล่าวว่า “แม้มาตรการกระตุ้นทางการคลังที่ใครต่างชอบใช้จะสามารถช่วยคลายความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลเพิ่มสำหรับ ECB เพราะอาจเปลี่ยนปัญหาเงินเฟ้อด้านอุปทานให้กลายเป็นเงินเฟ้อด้านอุปสงค์”
เมื่อเกือบสองสัปดาห์ก่อน ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานอีกครั้ง 25 จุดเบสิส ประธาน ECB ระบุว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยของยูโรโซนขึ้นอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม เธอกล่าวว่า:
“คำถามที่ว่า เสร็จหรือยัง? ขึ้นดอกเบี้ยจบแล้วหรือไม่? เราขอบตอบเลยว่า “ไม่” เรายังไม่ถึงที่หมาย ยังจุดที่เราต้องปรับปรุงอีก ใช่ เรายังมีปัญหาให้แก้ไข”
ภาพรวมของ EURUSD
การหยุดขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราวของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจทำให้ ECB คิดว่าอาจจะสามารถทำได้เช่นเดียวกัน ความเห็นของลาการ์ดจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับกราฟ EURUSD ในอนาคตอันใกล้
ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจเยอรมันยังคงทำผลงานได้ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในเศรษฐกิจยุโรป Timo Wollmershaeuser จากสถาบัน Ifo กล่าวว่า “เศรษฐกิจของเยอรมันกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ เพื่อหาทางออกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย”
สำนักงานสถิติรายงานว่าในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนและการก่อสร้างมีการเติบโตในช่วงต้นปีนี้ แต่ถูกกดดันด้วยการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง เนื่องจากราคาสิรค้าที่สูงขึ้นทำให้ครัวเรือนต้องลดการใช้จ่ายลง
“ปัจจุบันเราเห็นประเทศเยอรมันกำลังเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้น” ซิกฟรีด รัสเวิร์ม หัวหน้าฝ่ายล็อบบี้ของอุตสาหกรรม BDI กล่าว
รัฐบาลยังคงเชื่อว่าเศรษฐกิจเยอรมันจะมีการเติบโตของ GDP ในปีนี้ แต่สถาบันเศรษฐกิจชื่อดังหลายแห่งและ IMF มองว่าจะลดลง 0.2 ถึง 0.4%