วันสุดท้ายของสัปดาห์นี้ คู่กราฟ USDJPY จะได้ปิดท้ายด้วยการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่น
กราฟ USDJPY รายวัน
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนมาตั้งแต่เดือนมกราคม คู่กราฟสามารถมุ่งขึ้นสู่ระดับ 137.80 ได้จากความแข็งแกร่งของดอลลาร์ในตอนนี้
นักลงทุนจะได้ทราบว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะยังคงอยู่กับญี่ปุ่นต่อไปหรือไม่หลังจากที่ตัวเลข CPI แบบปีต่อปีในเดือนที่แล้วออกมาอยู่ที่ 4% เอัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2023 เพิ่มขึ้นจาก 0.5% 5 และผู้มีสิทธิ์กำหนดนโยบายการเงินของญี่ปุ่นก็ยังคงไม่มีมาตรการคุมเข้มทางการเงินแต่อย่างใด
ข่าวการเลือกผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นดูจะได้รับความสนใจน้อยกว่าเมื่อเทียบกับข่าวการประเมินค่าจ้างประจำปีจากบริษัทต่างๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นอย่างโตโยต้าและฮอนด้ากล่าวว่าพวกเขาได้ตกลงที่จะให้พนักงานของตนได้รับค่าจ้างที่สูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ สองบริษัทนี้ถือเป็นบริษัทล่าสุดในญี่ปุ่นที่ขึ้นค่าแรงท่ามกลางราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
ความพยายามในการช่วยเหลือคนงานถือเป็นส่วนหนึ่งที่หนุนให้เงินเฟ้อเติบโต และอาจบีบให้ BOJไม่มีทางเลือกนอกจากต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
Naoki Tamura สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวเมื่อวานนี้ว่ามีความเสี่ยงมากเกินไปหากยังปล่อยเงินเฟ้อเอาไว้เช่นนี้ และถึงเวลาที่ต้องพูดถึงระยะเวลาของการยุตินโยบายการเงินผ่อนคลายพิเศษของธนาคารกลางฯ ในอนาคตได้แล้ว
เขากล่าวเสริมว่าธนาคารกลางจะพิจารณาข้อดีข้อเสียของกรอบนโยบายปัจจุบัน จะมีการพิจารณาขั้นตอนเพิ่มเติมในการประชุมเดือนมีนาคม หลังจากที่ธนาคารกลางฯ ได้ขยายกรอบเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ทามูระก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า“เป็นความจริงที่ปัจจุบันการเสื่อมสภาพของตลาดตราสารหนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข”
“เราจะคำนึงถึงเติบโตทางเศรษฐกิจ ราคา และค่าจ้าง ณ เวลานั้น” ในการกำหนดเวลาสำหรับการปรับนโยบายการเงินให้เป็นมาตรฐาน เขากล่าวเสริม
ความคิดเห็นดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่เทรดเดอร์พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ BOJ จะยุตินโยบายควบคุมอัตราผลตอบแทน (YCC) และเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเมื่อวาระของผู้ว่าการ BoJ คนปัจจุบันนายฮารุฮิโกะ คุโรดะจะสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน นักลงทุนควรพิจารณา USDJPY อย่างจริงจังในช่วงเวลานั้น USD อาจปรับตัวขึ้นต่อจากการเติบโตของเงินเฟ้อ ถึงกระนั้น เงินเยนอาจแข็งค่าขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิมทันทีที่ได้ผู้ว่าการ BoJ คนใหม่
ในตลาดลงทุนฝั่งสหรัฐฯ วันนี้จะมีการรายงานมาตรวัดเงินเฟ้ออีกหนึ่งตัวคือดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) นักลงทุนจะเฝ้าดูตัวเลขนี้อย่างใกล้ชิดหลังจากเงินเฟ้อยังไม่ยอมปรับตัวลดลงมา ตัวเลข PCE พื้นฐานคาดว่าจะลดลงเหลือ 4.3% จาก 4.4% ของเดือนที่แล้ว