คู่กราฟ NZDUSD ได้วิ่งลงมาเจอกับระดับแนวรับสำคัญที่ 0.5590 ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดสำคัญที่ราคาเคยลงมาถึงในอดีต ทำให้นักลงทุนสามารถใช้โอกาสที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะมีแถลงการณ์ในวันพรุ่งนี้ กับระดับราคาดังกล่าวเป็นจุดพิจารณาโอกาสในการเข้าซื้อได้
กราฟ NZDUSD รายสัปดาห์
จากตำแหน่งราคาปัจจุบันที่ 0.6098 มีโอกาสที่คู่กราฟจะปรับตัวขึ้นได้อีกมากถึง 400 pips
ในวันอังคารนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นประวัติการณ์ที่ 75 จุดเบสิส เพื่อกดให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ภายใต้การควบคุม
จากโพลผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ 15 คนโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานจาก 3.5% เป็น 4.25% นั่นจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากที่สุดนับตั้งแต่ RBNZ เปิดตัว OCR ในปี 1999 และจะเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008
อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและระดับการว่างงานที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ทำให้ RBNZ พร้อมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ RBNZ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดเบสิสติดต่อกัน 5 ครั้ง ความเคลื่อนไหวดังกล่าวขัดแย้งกับธนาคารกลางทั่วโลกอื่นๆ ซึ่งกำลังมองการขึ้นอัตราดอกเบี้ยว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำต่อแล้วมากยิ่งขึ้น
Stephen Toplis หัวหน้าฝ่ายวิจัยของธนาคารแห่งนิวซีแลนด์ในเวลลิงตันกล่าวว่า “ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าธนาคารกลางฯ ควรแสดงท่าทีก้าวร้าวมากกว่านี้” “แต่ตัวชี้วัดอื่นๆ ก็ชี้ให้เห็นถึงแนวทางที่รอบคอบกว่ามาก ที่นี่และตอนนี้ เราได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาถึง 75 จุดเบสิสแล้ว และตรงนี้คือจุดสูงสุดของความเสี่ยงที่ยอมรับได้”
นักเศรษฐศาสตร์บางคนแนะนำว่า RBNZ ควรจะเลือกขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 50 จุดเบสิส เหตุการณ์นี้อาจเกิดจากผลกระทบเต็มรูปแบบของมาตรการรัดเข็มขัดเมื่อเร็ว ๆ นี้ซึ่งผลกระทบยังไม่ไปถึวผู้บริโภค ภาคครัวเรือนจำนวนมากที่มีอัตราดอกเบี้ยจำนองคงที่ยังไม่สามารถทำ rollover ได้
ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนตุลาคม โดยอ้างว่าผลกระทบของต้นทุนการกู้ยืมที่มีต่อต่อภาคครัวเรือนที่สูงขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีท่าทีที่จะปรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้ช้าลงหลังจากได้เห็นตัวเลขเงินเฟ้อเติบโตลดลงแล้ว
Sharon Zollner หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ANZ ชาวนิวซีแลนด์กล่าวว่า RBNZ ควรควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้แม้ว่าจะเสี่ยงส่งสร้างผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจก็ตาม
“อย่าประมาทกับการเอาเศรษฐกิจของประเทศมาเดิมพัน ความน่าเชื่อถือในการกำหนดเป้าหมายตามอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางฯ เป็นสิ่งที่ตลาดลงทุนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ความเสี่ยงของการทำ hard landing มากกว่าที่จำเป็นในระบบเศรษฐกิจนั้นในแง่ของความเสียใจที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถยอมรับได้” – หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ANZ กล่าว