การปรับตัวลดลงมาของสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์ในช่วงนี้ทำให้ราคาได้เจอกับแนวรับที่แข็งแกร่ง ณ $18,921 ดอลลาร์ บิทคอยน์ได้ร่วงลงสู่จุดต่ำสุดในรอบสองปี ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2022 เมื่อราคาได้ลงไปแตะ $17,588 ดอลลาร์ ก่อนที่จะดีดตัวกลับขึ้นมา ดังนั้นเราจึงเห็นราคาปรับตัวขึ้นอย่างช้าๆ ไปที่ 21,873 ดอลลาร์ในช่วงสุดสัปดาห์ แนวโน้มขาขึ้นครั้งนี้ทำให้ราคาบิทคอยน์ค่อยๆ ฟื้นตัวกลับขึ้นมาอย่างช้าๆ
เป้าหมายถัดไปของบิทคอยน์อยู่ที่ไหน?
ราคาบิทคอยน์กำลังฟื้นตัวจากการปรับตัวลงครั้งใหญ่ในปี 2022 เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงของเฟด นักวิเคราะห์คาดว่าบิทคอยน์จะสามารถทำลายแนวต้านที่ $22,500 ได้ในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะเป็นการปูทางไปสู่ระดับราคาที่สูงขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถปรับตัวขึ้นไปได้ มีโอกาสที่ราคาจะลงมาทดสอบแนวรับอีกครั้ง ดังนั้นสัปดาห์นี้ เราจึงเน้นที่ระดับแนวรับสำคัญที่ต้องระวังสำหรับการลงทุนในบิทคอยน์
ระดับแนวรับสำคัญของบิทคอยน์ในสัปดาห์นี้อยู่ที่ไหน?
ระดับแนวรับแรกของบิทคอยน์ในขณะนี้อยู่ที่ $20,500 หากสามารถปรับตัวลงต่ำกว่าแนวรับนี้ จะทำให้ทำให้เกิดโอกาสลงไปทดสอบแนวรับที่ $20,000 อีกครั้ง ซึ่งเป็นแนวรับที่สองที่แข็งแกร่งสำหรับบิทคอยน์ หากยังหลุดจากแนวรับนี้ลงไปได้อีก ให้พิจารณาแนวรับถัดไปคือ $18,921 ดอลลาร์
ปัจจัยสนับสนุนการเคลื่อนไหวของราคาบิทคอยน์ในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง?
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าราคาบิทคอยน์ถูกผูกมูลค่าอ้างอิงเอาไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหมายความว่าค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจะทำให้ราคา BTC ลดลง ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญบางประการที่จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์นี้ เอามาไว้ที่ด้านล่างนี้เรียบร้อยแล้ว:
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจาก Conference Board: ข้อมูลนี้จมีรายงานออกมาในวันพรุ่งนี้ ในช่วงที่ตลาดลงทุนฝั่งนิวยอร์กเปิดทำการ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค CB จัดทำดัชนีประกอบของการใช้จ่ายในครัวเรือนโดยเฉลี่ย การใช้จ่ายในครัวเรือนที่มากขึ้นบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นและทำให้บิทคอยน์อ่อนค่าลง ในทางกลับกัน การใช้จ่ายที่ลดลงจะบ่งบอกถึงการขาดความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยทำให้บิทคอยน์ปรับตัวเพิ่มขึ้นและทำให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามีโอกาสที่จะได้เห็นตัวเลขนี้ออกมาอยู่ที่ 100.0 ในขณะที่ตัวเลขก่อนหน้านี้คือ 106.4
ถ้อยแถลงของประธานเฟดในวันพุธ: นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ จะกล่าวสุนทรพจน์ที่สำคัญในวันพุธ ในการอภิปรายในหัวข้อ ‘Policy Panel’ การปราศรัยนี้จะเกิดขึ้น ณ ประเทศโปรตุเกส ถ้แยแถลงของเขาในงานสัมมนาอาจให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกรกฎาคม
ดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน: ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (PCE) จะวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ ไม่รวมอาหารและพลังงาน เฟดใช้ตัวเลข PCE เป็นหนึ่งในตัวอ้างอิงเงินเฟ้อ เงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะทำให้ธนาคารกลางต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ ในทางลบ หากเฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงอีกในเดือนกรกฎาคม มีโอกาสที่ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลต้องกลับลงไปทดสอบจุดต่ำสุดอีก
ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: ตัวเลขนี้จะวัดความเร็วของการเติบโตของธุรกิจโดยการวัดความสามารถของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในอุตสาหกรรมการผลิต ตัวเลขที่ดีนั้นต้องอยู่เหนือ 50.0 จุดจึงจะเป็นผลบวกต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าออกมาต่ำกว่า 50.0 จุดจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง เสริมความแข็งแกร่งในการฟื้นตัวให้กับบิทคอยน์