สัปดาห์นี้จะมีเหตุการณ์สำคัญสำหรับการลงทุนในคู่ AUDUSD นั่นก็คือการประชุมดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ซึ่งมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้นอีกครั้ง
กราฟ AUDUSD รายสัปดาห์
AUDUSD พยายามที่จะกลับขึ้นไปจากระดับต่ำสุดในเดือนมิถุนายนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ราคาประมาณ 0.6460 แต่ถูกปฏิเสธ และราคาก็ตกลงไปที่ 0.6445
ตามผลการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์ ธนาคารกลางออสเตรเลียจะคงอัตราดอกเบี้ยหลักไว้ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 4.10% ในการประชุมวันอังคาร เพราะอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่ชะลอตัวลง นักวิเคราะห์คนเดียวกันนี้คาดว่าจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในไตรมาสหน้า
การคาดการณ์ของรอยเตอร์ต่างจากผลสำรวจล่าสุด ผู้ทำแบบสำรวจแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ผลการสำรวจครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นความคาดหวังของผู้ทำแบบสอบถาม ที่เกือบจะเป็นเอกฉันท์ว่า RBA จะไม่เปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยนโยบาย
ด้วยสถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเมื่อเร็วๆ นี้และการว่างงานที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย นักเศรษฐศาสตร์ 34 คนจาก 36 คนกล่าวว่า RBA จะคงอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการไว้ที่ 4.10% ในการประชุมวันที่ 5 กันยายน ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ผู้ตอบแบบสอบถามสองคนคาดว่า RBA จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 จุดเบสิส
เทย์เลอร์ นูเกน นักวิเคราะห์จาก NAB Bank กล่าวว่า “ในเดือนสิงหาคม RBA มองเห็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือในการปรับอัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายด้วยอัตรา 4.10% และเมื่อเราดูกระแสข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจนับตั้งแต่นั้นมา เราก็ไม่เห็นเหตุผลใดที่จะทำให้พวกเขาไม่เชื่อว่าเงินเฟ้อจะลดลง” ในบรรดาธนาคารรายใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย ANZ, CBA และ Westpac พวกเขาคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไปจนถึงสิ้นปี 2023 ในขณะเดียวกัน NAB คาดการณ์ว่า RBA จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเป็น 4.35% ในเดือนพฤศจิกายน
นอกจากการประชุมดอกเบี้ยในวันอังคารแล้ว ออสเตรเลียจะมีการเปิดเผยตัวเลข GDP ล่าสุดก่อนตลาดซื้อขายในวันพุธเปิดทำการ โดยคาดว่า GDP จะมีตัวเลขอยู่ที่ 1.7% ในไตรมาสที่สอง YoY
ตามข้อมูลจากสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่สองขยายตัว 2.1% ตัวเลข GDP ที่ออกมาต่ำกว่าคาด หลังจากที่ก่อนหน้านี้สำนักงานฯ เคยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 2.4% อย่างไรก็ตาม Q1 GDP ได้รับการอัพเกรดจาก 1.1% เป็น 2%
หน่วยงานกล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นกับการลงทุนถาวรที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย แต่ก็มีสาเหตุมาจากการส่งออกที่ลดลง การลงทุนถาวรที่อยู่อาศัย และการลงทุนสินค้าคงคลังภาคเอกชน การชะลอตัวของเศรษฐกิจและการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในวันศุกร์อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง
Ryan Brandham จาก Validus Risk Management กล่าวว่า: “GDP ของสหรัฐฯ อ่อนแอเกินคาดที่ 2.1% เทียบกับที่คาดไว้ 2.4% นี่เป็นตัวเลขที่อ่อนแอ และบางทีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวได้อย่างน่าประหลาดใจก็แสดงสัญญาณของการชะลอตัวหลังจากวัฐจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ยาวนาน” .
“ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอนี้จะสนับสนุนผู้ที่เรียกร้องให้เฟดหยุดขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราวในเดือนกันยายน ซึ่งยังมีข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจอีกพอสมควรที่จะออกมาก่อนการประชุม เราคาดว่าค่าเงิน USD และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะอ่อนค่าลงในตลาดลงทุนวันนี้” เขากล่าวเสริม