ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ได้ดำเนินนโยบายการเงินเชิงรุกอีกครั้งเพื่อลดปัญหาเงินเฟ้อ โดยธนาคารกลางฯ ได้ขึ้นอัตราเงินสดอย่างเป็นทางการ 50 จุดเบสิส การขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวทำให้ NZDUSD พุ่งขึ้นไปที่ 0.6381 ดอลลาร์ในช่วงเซสชั่นเอเชียวันนี้อย่างรวดเร็ว มีราคาปัจจุบันในช่วงเซสชั่นยุโรปวันนี้อยู่ที่ 0.6342 ดอลลาร์
อัตราเงินเฟ้อของนิวซีแลนด์ในช่วงไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้น 7.30% YoY เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 1990 RBNZ เชื่อว่ายังเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะดำเนินนโยบายแบบเข้มงวดต่อไปจนกว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่เสถียรภาพที่เหมาะสม ซึ่งสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน การขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สี่ติดต่อกัน ที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับเดียวกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 ซึ่งทำให้อัตราเงินสดของนิวซีแลนด์ขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ 3.0%
คณะกรรมการฯ หวังที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้ได้อย่างน้อย 3.69% ภายในสิ้นปี 2022 ตามด้วย 4.1% ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2023 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างน้อยสองครั้งยังคงรอช่วยให้เงินดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่า ภายในการประชุมของคณะกรรมการอีกสามครั้งในปี 2022
RBNZ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 2.75% ภายในระยะเวลาสิบเดือนหลังจากที่เริ่มทำนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2021 ซึ่งออกแบบมาเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 0.25% ในเดือนตุลาคม 2021 เป็น 3% ในเดือนสิงหาคม 2022 จะทำให้สิ้นปีนี้ นิวซีแลนด์จะมีอัตราดอกเบี้ยใกล้ถึง 4% สิ่งนี้ทำให้ RBNZ มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารกลางในประเทศอื่นๆ เช่นธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางแคนาดา ซึ่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมแล้วประมาณ 2.25%
อาเดรียน ออร์ (Adrian Orr) ผู้ว่าการ RBNZ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมการฯ ยังสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้อีกเพื่อที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs Group คาดการณ์ว่าประเทศจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นอันตรายภายในปี 2023 หากไม่มีการดำเนินการใด ๆ เพื่อสนับสนุนตลาดแรงงาน
หลายคนตั้งคำถามถึงความสามารถของตลาดแรงงานของนิวซีแลนด์ว่าจะสามารถทนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 3.3% ในไตรมาสที่ 2 ปี 2022เทียบกับก่อนหน้านี้ที่ 3.2% ในไตรมาสที่ 1 อย่างไรก็ตาม RBNZ ยังเชื่อว่าตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง และสามารถทนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปได้โดยไม่เสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ในการกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ คณะกรรมการรายงานว่าต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นตาม และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของตลาดแรงงานในไตรมาสที่ 1 ปี 2022 บอร์ดเชื่อว่าผลผลิตของตลาดแรงงานจะถูกจำกัดจากอุปทานทั่วโลกที่หยุดชะงัก อย่างไรก็ตาม พวกเขาคาดว่าเมื่อต้นทุนทางพลังงานค่อยๆ ลดลงแล้ว ตลาดแรงงานจะกลับมาเติบโต และทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
ผลกระทบใดบ้างที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางนิวซีแลนด์กระทบต่อ NZDUSD?
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการจาก RBNZ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับดอลลาร์นิวซีแลนด์เมื่อเทียบกับคู่สกุลเงินอื่น ๆ ทำให้เราคาดว่าจะได้เห็น NZDUSD ปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับคู่กราฟอื่นๆ ที่มีดอลลาร์นิวซีแลนด์ดอลลาร์เช่น NZDCAD, NZDCHF, NZDJPY เป็นต้น
ไม่ใช่แค่เฉพาะสกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์เท่านั้น แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสำหรับสกุลเงินใด ๆ ก็ตาม เป็นการทำไปเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับสกุลเงินนั้นๆ ซึ่งจะเป็นการดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาถือสกุลเงินมากขึ้น สำหรับดอลลาร์นิวซีแลนด์ในตอนนี้ มีความเสี่ยงที่ขาขึ้นครั้งนี้จะไม่สามารถไปได้ไกลมากนัก เพราะธนาคารกลางสหรัฐฯ รอที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าในการประชุมเฟดครั้งถัดไปเดือนกันยายน ซึ่งคาดว่าอาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 75 จุดเบสิส
คาดการณ์แนวโน้มกราฟ NZDUSD หลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก RBNZ
เราคาดว่า NZDUSD จะคงอยู่ในแนวโน้มเป็นขาขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ มีเป้าหมายราคาอยู่ที่ 0.6465 เหรียญ ปัจจัยเดียวที่อาจทำให้คู่กราฟนี้ปรับตัวลดลงคือดัชนีค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น เนื่องจากมีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปเดือนกันยายน ในกรณีนี้ เราอาจเห็น NZDUSD ปรับตัวลดลงเป็นระยะๆ โดยมีแนวรับหลักอยู่ที่ $0.6285