ตลอดทั้งสัปดาห์ เงินเปโซของเม็กซิโกแข็งค่าขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ (USD/MXN) และได้ปรับตัวขึ้นถึงจุดสูงสุดเมื่อวานนี้ เปโซเม็กซิโกแข็งค่าขึ้นตามการตัดสินใจของธนาคารกลางแห่งประเทศเม็กซิโกที่ (BdeM) ที่ต้องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 75 จุดเบสิส การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นครั้งนี้นับว่าสูงที่สุดของประเทศนับตั้งแต่ปี 2008 การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับค่าสกุลเงินของประเทศอื่น ๆ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนี้เกิดขึ้นหลังจากอัตราเงินเฟ้อของเม็กซิโกแตะ 7.88% ในสัปดาห์ที่แล้ว เกินเป้าหมายที่ BdeM กำหนดไว้ 3%
เมื่อเงินเฟ้อเติบโตเกินเป้าไปไกล คณะกรรมการของธนาคารกลางจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% รวมทั้งหมดเป็น 7.75% นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายให้คำมั่นว่า หากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันไม่สามารถลดอัตราเงินเฟ้อลงมาได้ ก็จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในเดือนหน้า
หลังจากทราบมติการตัดสินใจของธนาคารกลาง กราฟ USDMXN จึงได้ปรับตัวลงตลอดทั้งสัปดาห์เพราะการแข็งค่าของสกุลเงินเปโซ ดังนั้น กราฟ USDMXN ที่เคยเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์ ณ $20.37100 จึงได้ปรับตัวลดลงมาวิ่งอยู่ที่ $19.17100 ในช่วงเช้าที่ตลาดเอเชียเปิดทำการวันนี้ คิดเป็นการปรับตัวลดลง 1200 pips ซึ่งถือว่าเยอะมากภายในสัปดาห์นี้เพียงสัปดาห์เดียว
ปัจจัยพื้นฐานส่งผลต่อสกุลเงินหลักและสกุลเงินรองอย่างไร?
สำหรับกราฟ USD/MXN สกุลเงินหลักคือ USD ในขณะที่สกุลเงินรองคือ MXN ซึ่งทั้งสองสกุลเงินต่างได้รับผลกระทบจากข่าวเศรษฐกิจ ที่อยู่ภายในประเทศของสกุลเงินทั้งสองมาโดยตลอด
เมื่อใดก็ตามที่ข่าวเชิงบวกที่สนับสนุนสกุลเงินหลัก (USD) ก็จะทำให้คู่เงิน (USDMXN) ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าข้อมูลที่ดีสำหรับเงินดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลเชิงลบต่อคู่สกุลเงินรอง ในทางกลับกัน เมื่อข่าวดีของประเทศเม็กซิโกเกิดขึ้น เงินเปโซเม็กซิโก (MXN) ก็จะแข็งค่า ทำให้กราฟ USDMXN ปรับตัวลดลง อย่างเช่นที่ธนาคารกลางเม็กซิโกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไป สิ่งนี้อธิบายได้ว่าทำไมการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยล่าสุดของเปโซเม็กซิโก ซึ่งเป็นข่าวเชิงบวกสำหรับสกุลเงินนี้ และได้ทำให้กราฟ USDMXN ปรับตัวลดลงตลอดทั้งสัปดาห์
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อสกุลเงินของประเทศอย่างไร?
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นนโยบายการเงินที่สำคัญของธนาคารกลาง เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับค่าเงินของประเทศนั้นๆ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่มากเกินไปทำให้การกู้ยืมเงินของบริษัทและบุคคลทั่วไปยากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะยาว