หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบสามารถปรับตัวขึ้นไปยังจุดสูงสุด $94 ต่อบาร์เรลได้เพราะผลการประชุมของกลุ่ม OPEC+ ครั้งล่าสุด ราคาน้ำมันดิบก็ได้ปรับตัวลดลงมา แต่ในช่วงกลางสัปดาห์นี้ ดูเหมือนว่าราคาน้ำมันจะสามารถปรับตัวกลับขึ้นมาได้อีกครั้ง
กราฟ USOIL รายวัน
กรอบราคาขาลงล่าสุดถือเป็นโซนแนวรับให้กับราคาน้ำมัน หากว่าราคาน้ำมันสามารถขึ้นอยู่เหนือกรอบราคานี้ได้ ก็มีโอกาสที่ราคาจะสามารถขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่ การถอยกลับเข้าไปอยู่ในกรอบราคาอาจทำให้ราคาน้ำมันมีโอกาสมุ่งหน้าลงไปที่ $75 ต่อบาร์เรลหรือ $70 ต่อบาร์เรลได้
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากประธานาธิบดีอเมริกาตั้งใจที่จะปล่อยน้ำมันจากคลังน้ำมันสำรองเชิงยุทธศาสตร์ออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น การปล่อยน้ำมันจากคลังออกสู่ตลาดครั้งนี้จะมีปริมาณอยู่ที่ 15 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการปล่อยน้ำมัน 180 ล้านบาร์เรลจากบริษัทพลังงานที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ จากข้อมูลของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก การประกาศปล่อยน้ำมันออกจากคลังคาดว่าจะมีขึ้นอย่างเป็นทางการในปลายสัปดาห์
ทำเนียบขาวในตอนนี้กำลังรับแรงกดดัน ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องไปกดดันบริษัทน้ำมันเพื่อเพิ่มการผลิตและการกลั่นเพื่อกดราคาน้ำมันให้ปรับตัวลดลงมาให้ได้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนกล่าวว่า
“คุณควรจะใช้กำไรที่ได้มาอย่างมหาศาลจากสถานการณ์ในปัจจุบันเหล่านี้เพื่อมาเพิ่มการผลิตและการกลั่น ลงทุนในอเมริกาเพื่อคนอเมริกัน ลดราคาที่คุณเรียกเก็บตามหน้าปั๊มเพื่อสะท้อนให้ผู้บริโภคได้เห็นว่าในสิ่งที่พวกเขาจ่ายไปนั้น เขาได้รับอะไรกลับคืนมา”
ประธานาธิบดียังได้ระบุแผนการที่จะเติมน้ำมันเข้าสู่คลังอีกสำรองหากราคาน้ำมันตกลงมาอยู่ที่ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เขากล่าวว่าวิธีนี้จะช่วยให้บริษัทน้ำมันสามารถเพิ่มการผลิตได้ ไบเดนทราบว่าบริษัทน้ำมันเหล่านี้จะ “สามารถขายน้ำมันให้กับผู้บริโภคในราคานั้น ($70 ต่อบาร์เรล) ได้ในอนาคต”
ด้วยราคาน้ำมันที่ลดลง 30 เปอร์เซ็นต์มาตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ทำเนียบขาวกล่าวว่าควรแสดงให้เห็นออกมาที่ราคา ณ หน้าปั๊มด้วย โจ ไบเดนกล่าวว่า
“ข้อความที่ผมจะส่งถึงบริษัทผู้ผลิตน้ำมันคือ: คุณกำลังทำกำไรได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเรา (รัฐบาลและภาคประชาชน) กำลังให้ความมั่นใจกับคุณมากขึ้น เพื่อให้คุณสามารถดำเนินการเพิ่มการผลิตน้ำมันในตอนนี้ได้”
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้นตามข่าวและรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์ที่ลดลง ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่วัดโดย API ลดลงประมาณ 1.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่นับถึงวันที่ 14 ต.ค.
นักวิเคราะห์คาดว่าปริมาณน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน โดยเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่นับถึงวันที่ 14 ต.ค.
การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยชะลอตัวลงสำหรับเศรษฐกิจโลกช่วยให้ราคาน้ำมันดิบลดลง นักลงทุนต่างจับตาดูสถานการณ์ที่สหภาพยุโรปจะคว่ำบาตรน้ำมันของรัสเซียในเดือนธันวาคมและกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันทั่วโลกเช่นกัน
“เราคาดว่าการผลิตของรัสเซียจะลดลง 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในสิ้นปี 2022 (นอกเหนือจากการลดลง 400,000 บาร์เรลต่อวันตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์) เนื่องจากยุโรปมีการดำเนินการทั้งการห้ามซื้อน้ำมันของรัสเซียและการห้ามไม่ให้มีบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันจากรัสเซียเช่น การขนส่ง การประกันภัย และการเงิน” นักวิเคราะห์ของ JP Morgan กล่าว
ความเชื่อมั่นของตลาดที่มีต่อการซื้อขายน้ำมันได้ลดลงในช่วงที่ผ่านมา แต่หากจะให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงต่อนั้นก็ยังถือว่ามีอุปสรรคอยู่ แม้แต่การคว่ำบาตรพลังงานจากรัสเซียของสหภาพยุโรปก็ไม่อาจทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงได้