ในช่วงนี้ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลดลง ซึ่งถึงแม้ว่าจะปรับตัวลดลงมามากแล้ว แต่ก็มีโอกาสที่ราคาน้ำมันจะปรับตัวลงได้มากกว่าที่เห็นในปัจจุบันอีก
กราฟ USOIL รายวัน
ราคาน้ำมันดิบ USOIL ได้ปรับตัวลดลงหลังจากขึ้นแตะระดับ $82.50 ต่อบาร์เรล นักลงทุนสามารถมองหาแนวรับที่ระดับต่ำสุดต่อไปได้ที่ $67 และ $64 ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นจากจุดต่ำสุดในเดือนเมษายนหลังจากกลุ่มโอเปกประกาศลดการผลิตน้ำมัน แต่สาเหตุที่ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลดลงเนื่องจากนักลงทุนมองว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลง
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ ร่วงลงต่ำกว่า $70 ต่อบาร์เรล ทำสถิติเป็นจุดต่ำสุดใหม่ในรอบห้าสัปดาห์ที่ $69.70 ต่อบาร์เรล ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ได้ร่วงแตะ $73 ต่อบาร์เรล มีราคาซื้อายอยู่ที่จุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม คิดเป็นการปรับตัวลดลงประมาณหนึ่งเปอร์เซ็นต์ภายในวันเดียวที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม
ยังไม่จบแค่นั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เพิ่มแรงหนุนให้กับเทรนด์ขาลงด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 จุดเบสิสของเฟดถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 10 ครั้งติดต่อกัน
ในขณะเดียวกัน กิจกรรมการผลิตของจีนที่ชะลอตัวลดลงได้เพิ่มความกังวลให้กับตลาด สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะจีนเป็นผู้ใช้พลังงานรายใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้ซื้อน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดเพียงรายเดียว นักลงทุนจึงมีอาการผิดหวังจากการฟื้นตัวของจีนที่ช้ากว่าคาด
คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ
โอเปกมั่นใจว่าอุปสงค์น้ำมันจะเพิ่มขึ้นในปลายปีนี้ พวกเขาคาดว่าตลาดน้ำมันจะได้รับแรงหนุนจากการลดกำลังการผลิตที่พึ่งประกาศไป อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค
ขาลงของน้ำมันลงครั้งล่าสุดเกิดขึ้นแม้ว่าสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) จะมีรายงานว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์ลดลงอีกครั้ง รายงานดังกล่าวออกมาหนึ่งวันหลังจากสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา (American Petroleum Institute) ประมาณการว่าปริมาณน้ำมันคงเหลือลดลงเกือบ 4 ล้านบาร์เรล EIA ประเมินว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังลดลง 1.3 ล้านบาร์เรลในช่วงเวลาเดียวกัน เทียบกับที่ลดลง 5.1 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ก่อน
แนวโน้มเศรษฐกิจอาจยังคงส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีประเด็นเพดานหนี้ของสหรัฐฯ เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสินทรัพย์เสี่ยง