ขาขึ้นของราคาน้ำมันดิบ WTI ในช่วงต้นสัปดาห์กลับกลายมาเป็นการตามหาจุดตามสุดในวันสุดท้ายก่อนสิ้นสุดสัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นส่วนหนึ่งมาจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐและการวางนโยบายการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย พร้อมทั้งพูดตัดกำลังใจตลาดด้วยว่าสงครามกับเงินเฟ้อยังไม่จบ แต่ดอลลาร์สหรัฐกลับไม่แข็งค่าขึ้น
กราฟ USOIL รายวัน
ราคาน้ำมันได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะสร้างแนวรับบริเวณ $70 ต่อบาร์เรล และอาจพุ่งขึ้นทะลุแนวต้านที่ใกล้ $90 ต่อบาร์เรลได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
เทรดเดอร์กลับมามองตลาดน้ำมันในสัปดาห์นี้เป็นบวกอีกครั้งเนื่องจากจีนเริ่มเปิดเมืองอีกครั้ง ถึงกระนั้น สถานการณ์โดยรวมยังเป็นไปตามนโยบายการผลิตน้ำมันของ OPEC ซึ่งประกาศเมื่อต้นเดือนตุลาคมว่าจะลดการผลิตลง OPEC ยังได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันลงซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา รวมถึงในเดือนตุลาคมด้วย หากการคาดการณ์ของ OPEC ในช่วงที่เหลือของปีนั้นแม่นยำ ตลาดน้ำมันโลกในไตรมาสแรกควรจะมีความสมดุล เจ้าชายอับดุลลาซิซ บิน ซัลมาน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบียเพิ่งตั้งข้อสังเกตว่าสมาชิก OPEC จะต้องผลิตน้ำมัน “อย่างมีความระมัดระวังและเอาใจใส่” เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาน้ำมันลงต่ำไปมากกว่านี้
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps เฟดได้เตือนว่าจะเริ่มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งตลาดเริ่มคาดการณ์ไปแล้วว่าตัวเลขของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2023 โดยเฉลี่ยจะออกมาอยู่ที่เท่าไหร่
ตัวบ่งชี้สถานการณ์ของตลาดน้ำมันที่ดีอีกอันหนึ่งคือรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ตามรายงานของ American Petroleum Institute (API) สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 7.82 ล้านบาร์เรล หลังจากลดลง 6.42 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ก่อนหน้า นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงอีก 3.91 ล้านบาร์เรล
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ในปีนี้เพิ่มขึ้น 14 ล้านบาร์เรล เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ปริมาณน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ของประเทศลดลงเกือบ 15 เท่าของปริมาณดังกล่าว หรือคิดเป็น 211 ล้านบาร์เรล